แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - winai.d

หน้า: 1 ... 74 75 [76]
1126
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)


จะเห็นได้ว่าขบวนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็นขบวนการหนึ่งที่ใช้ค้นหาอันตรายที่แฝงมากับการทำงาน ซึ่งจะนำมาใช้กำหนดแผนการปรับปรุงงานให้ปลอดภัยได้
1. ศึกษาและบันทึกขั้นตอนของงานเพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่มีอยู่หรือแฝงอยู่ในงานนั้น
2. กำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง , ลด , หรือขจัด รวมทั้งการป้องกัน , ควบคุมอันตรายนั้น
หน่วยงานที่ได้นำเอาวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังแล้วจะช่วยให้การ ทำงานสำเร็จโดยรวดเร็วและราบรื่นลดการเกิดอุบัติเหตุ ขวัญของผู้ปฏิบัติงานดีขึ้นและส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในที่สุด

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยอาศัยหลัก 3 ประการ คือ

1. ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
2. ประเมินผลของอันตรายนั้น
3. หามาตรการป้องกันหรือควบคุมอันตรายนั้น

ผู้ดำเนินการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
ผู้ดำเนินการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจ Process ของงานเป็นอย่างดี สามารถแยกแยะขั้นตอนของงานและทราบถึงอันตรายที่แฝงมากับขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดี นอกจากนั้นแล้วยังทราบถึงขนาดความรุนแรงของอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายนั้น
พนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะวิเคราะห์
ในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนั้น พนักงานมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์เป็นอย่างมาก เป็นทั้งผู้ช่วยเหลือในการให้คำตอบในขั้นตอนต่าง ๆ หรือเป็นตัวอย่างสาธิตเพื่อวิจัยหาอันตรายที่แฝงมากับขั้นตอนการทำงาน ดังนั้นจึงควรจะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานดังนี้
1. ควรเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์ในงานนั้น และเป็นผู้ที่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ในการเฝ้าสังเกตการทำงาน
2. ควรชี้แจงให้พนักงานทราบถึงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงอันตรายเพื่อการขจัดและการควบคุม
อันตรายนั้น มิใช่เป็นการเฝ้าสังเกตเพื่อจับผิดพนักงาน
3. ควรจะให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์งานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การทบทวนเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ของงาน การหารือเกี่ยวกับอันตรายที่แฝงอยู่ในงานนั้นและการเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

ขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
1. เลือกงานที่จะวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย
2. การดำเนินการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย
2.1แยกงานที่จะวิเคราะห์ออกเป็นขั้นตอนย่อย
2.2 ค้นหาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน
2.3 การเสนอแนะเพื่อป้องกันอันตรายและปรับปรุงแก้ไข
3. การปรับปรุงแก้ไขการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็นระยะ

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย เริ่มจาก
1. พิจารณาเลือกงานที่จะวิเคราะห์จากงานต่าง ๆ ในหน่วยงาน
2. งานที่ได้รับการเลือกเพื่อการวิเคราะห์มักเป็นงานที่มีอันตรายและความสำคัญสูงสุด
3. ควรจะชี้แจงและหารือกับพนักงานที่ทำงานนั้นให้เป็นที่เข้าใจแล้วจึง
4. แบ่งแยกงานที่จะวิเคราะห์ออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ต่อไป
5. ค้นหาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน ขั้นต่อไปก็
6. เสนอแนะเพื่อการป้องกันอันตรายและปรับปรุงแก้ไขของแต่ละขั้นตอน
7. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และ
8. จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็นระยะ เพื่อให้การวิเคราะห์นั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด


การเลือกงานที่จะวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย
โดยปกติแล้วงานทุกงานควรจะได้รับการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานพิเศษหรือ
งานประจำ แต่การที่จะเลือกเพื่อทำการวิเคราะห์นั้นจะต้องเป็นไปตามระดับอันตรายและความสำคัญของ
งานนั้น ในการจัดลำดับความสำคัญของงานต่าง ๆ ควรจะพิจารณาจากสถิติ , ข้อมูล และรายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานดังเช่น
1. ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุของงาน
2. ความพิการที่เกิดจากการทำงานในแต่ละงาน
3. ลักษณะของความรุนแรงที่แฝงอยู่ในงาน
4. งานใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องมือชนิดใหม่

การดำเนินการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
ก่อนที่จะเริ่มลงมือวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ควรจะได้ทำการสำรวจสภาวะแวดล้อมของงานนั้น ๆ โดยใช้แบบฟอร์มสำรวจที่ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. มีวัสดุเกะกะอยู่กับพื้นที่อาจทำให้พนักงานสะดุดลื่นล้มหรือไม่
2. แสงสว่างในบริเวณพื้นพอเพียงหรือไม่
3. มีอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้าในบริเวณนั้นหรือไม่
4. มีเครื่องมือ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องซ่อมหรือไม่
5. มีเสียงดังในบริเวณงานที่เป็นอุปสรรคในการสนทนาหรือไม่
6. อาจมีการระเบิดในบริเวณนั้นหรือไม่
7. เครื่องป้องกันและผจญเพลิงมีพร้อมที่จะใช้ได้หรือไม่ และพนักงานได้รับการฝึกเพื่อใช้งานหรือไม่
8. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือไม่ เช่น เบรก , ที่กั้น
เหนือศีรษะ , ให้สัญญาณ , เสียงสัญญาณ
10. มีการทำเครื่องหมายชี้ทางออกฉุกเฉินหรือไม่
11. พนักงานได้รับการฝึกอบรมในการทำงานหรือไม่
12. พนักงานได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในการทำงานอย่างเหมาะสมหรือไม่
13. มีพนักงานบ่นปวดศีรษะ มีปัญหาการหายใจ วิงเวียนหรือได้รับกลิ่นฉุนหรือไม่
14. การระบายอากาศมีเพียงพอหรือไม่
15. มีการทดสอบ , ตรวจวัดว่ามีปริมาณออกซิเจน , ไอหรือก๊าซพิษหรือไม่
สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วจะต้องมีสิ่งสำรวจเพิ่มเติมมากกว่านี้ ผลของการสำรวจจะเป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยต่อไป

การแยกงานออกเป็นขั้นตอนย่อย
โดยทั่วไปงานเกือบทุกงานสามารถแบ่งแยกออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ ในการแบ่งแยกขั้นตอนนั้น อาจจะทำได้โดยการเฝ้าสังเกตจากการทำงานของพนักงาน แล้วทำรายการของขั้นตอนตามลำดับ ซึ่งจะต้องแน่ใจว่าได้ข้อมูลมากพอที่จะสามารถอธิบายกิจกรรมของแต่ละขั้นตอนของงานนั้น เมื่อแบ่งแยกขั้นตอนของแต่ละงานเสร็จแล้ว ควรได้ทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง
ข้อควรระวังในการแบ่งแยกขั้นตอนนั้นคือ จะต้องไม่แบ่งจนละเอียดเกินไปหรือหยาบเกินไป จนทำให้พลาดอันตรายที่แฝงมาในแต่ละขั้นตอน
การค้นหาอันตรายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของงาน
หลังจากที่ได้แบ่งแยกงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องพยายามตรวจสอบหรือค้นหาอันตรายที่แฝงอยู่ ที่อาจจะเกิดขึ้นของแต่ละขั้นตอน อันตรายที่แฝงเร้นมากับขั้นตอนการทำงาน อาจเกิดขึ้นจากงานนั้นโดยตรง เช่น ลื่นหกล้ม / ตกจากที่สูง
/ วัตถุตกใส่ / ถูกความร้อน / ถูกของมีคมตัดเฉือน / ถูกกระแทก , เฉี่ยวชน / ไฟฟ้าดูด /
ถูกสารพิษ , สารเคมี / ขาดอากาศหายใจ / ไฟไหม้ , ระเบิด
นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้ว ยังต้องพิจารณาต้นเหตุของอุบัติเหตุประกอบด้วย เพื่อให้การวิเคราะห
์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น
- อันตรายจากคนหรือกลุ่มคน
- ทัศนคติของคนหรือกลุ่มคนเป็นอย่างไร
- สภาวะทางร่างกายเหมาะสมหรือไม่
- ความรู้ความชำนาญเป็นอย่างไร
- ความพร้อมของกลุ่มเป็นอย่างไร
- เครื่องมือ , เครื่องจักร อุปกรณ์ , วัตถุดิบ
- จำนวนมีเพียงพอหรือไม่
- เหมาะสมหรือไม่
- ชำรุดหรือไม่
- สิ่งแวดล้อมการทำงาน
- มีอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือไม่
- มีอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมีหรือไม่
- มีอันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือไม่
- ขั้นตอนการทำงาน
- การวางขั้นตอนการทำงานเหมาะสมหรือไม่
- มีการลัดขั้นตอนหรือไม่

ข้อเสนอแนะในการป้องกันอันตรายและปรับปรุงแก้ไข
หลังจากที่ได้ทราบถึงอันตรายต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องพยายามหาทางหรือมาตรการขจัดอันตราย เหล่านั้นให้หมดสั้นไปโดย
1. กำหนดวิธีการทำงานใหม่ เช่น อาจมีการรวบรวมขั้นตอนบางขั้นตอนเข้าด้วยกันหรือเปลี่ยนลำดับขั้นตอนหรืออาจเปลี่ยนขั้นตอน
การทำงานใหม่ทั้งหมด ในการเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่อาจจำเป็นต้องจัดการฝึกอบรมให้กับ
พนักงานด้วย
2. บางครั้งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ แต่อาจจะต้องพิจารณาว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมหรือการออกแบบเครื่องมือและ
อุปกรณ์ใหม่หรือเพิ่มฝาครอบที่เครื่องจักรจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อขจัด
และลดอันตราย ถ้าหากอันตรายยังไม่หมดไป ก็จะต้องพยายามลดความถี่การทำงานนั้นลง

การดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ
หลังจากที่ได้แนวทางการปรับปรุงแก้ไขเพื่อขจัดอันตรายจากการทำงานแล้ว การดำเนินการ แก้ไข
ปรับปรุงโดย
1. การดำเนินการแก้ไขในระยะสั้น
2. การดำเนินการแก้ไขในระยะยาว
การดำเนินการแก้ไขในระยะสั้น
เมื่อได้มาตรการแก้ไขอันตรายแฝงเร้นแล้ว จะเห็นได้ว่าในบางกรณีสามารถดำเนินการแก้ไขปรับปรุงขณะที่เริ่มการทำงานหรือขณะทำงานได้เลย เช่น การสอบงานความปลอดภัย , การตรวจสอบความปลอดภัยของงาน ฯลฯ เป็นต้น


การดำเนินการแก้ไขในระยะยาว
ปัญหาอันตรายแฝงเร้นหลายปัญหาที่ไม่อาจจะดำเนินการได้ในทันทีทันใด แต่ต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อเตรียมการนานพอสมควร ในกรณีเช่นนี้จะต้องวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขในแต่ละเรื่องว่าจะแก้ไขอะไร แก้ไขอย่างไร จะเริ่ม ดำเนินการเพื่อการแก้ไขเมื่อไร จะนำไปใช้เมื่อไร ในการวิเคราะห์เช่นนี้จะทำให้ให้มีเวลาเตรียมการ
นานพอสมควร
ประโยชน์ของการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
1. ผู้ควบคุมงานจะได้เรียนรู้งานที่เขาควบคุมมากขึ้น
2. ในขณะที่ได้มีการชักชวนให้พนักงานเข้าร่วมในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยนั้น เชื่อว่าจะทำให้ทัศนคติและความรู้ของพนักงานในด้านความปลอดภัยดีขึ้น
3. เมื่อได้มีการวิเคราะห์ฯ งานแล้ว กระบวนการต่าง ๆ จะดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นและสภาพแวดล้อม
การทำงานก็จะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วย
4. ผลผลิตจากการวิเคราะห์งานฯ จะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนงานด้านความปลอดภัยได้อย่างดี
5. สามารถนำเอาการวิเคราะห์งานฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกอบรม พนักงานทั้งเก่าและใหม่ในด้านความปลอดภัยได้อย่างดี
6. การวิเคราะห์งานฯ จะสามารถช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น การทำงานปลอดภัยมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุและผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

การปรับปรุงแก้ไขในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็นระยะ
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย จะสามารถลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขการวิเคราะห์งานนั้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาข้อบกพร่องของการวิเคราะห์เดิมได้
ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงแก้ไขในการวิเคราะห์งานฯ พนักงานควรได้รับการฝึกเพื่อปฏิบัติงานตามวิธีใหม่นั้น และจะต้องจัดหามาตรการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม
ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บจากงานใดงานหนึ่ง จะต้องทำการประเมินผลและวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยทันที เพื่อที่จะหาทางป้องกันและแก้ไขว่าจะทำอย่างไร จำเป็นจะต้องเปลี่ยนกระบวนงานหรือไม่ และถ้าหากอุบัติเหตุนั้นเกิดจากพนักงานไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนด จะต้องมีการชี้แจงกับพนักงานทุกคนที่ทำงานนั้นในทันทีทันใด
มาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ( Safety Standard Operation Procedure : SSOP)
เมื่อทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแล้ว สามารถนำมากำหนดเป็นมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก่อนปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน


http://www.youtube.com/watch?v=tLBhS7Q83zQ

1127
สวัสดีครับ
         ชมรมอุตสาหกรรมบางปูได้ร่วมแข่งขัน ฟูตบอล Bangpoo Champion Match ครั้งที่4  ประจำปี 2554  เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ 7 รอบ 84 พรรษา  คุณวิวัฒน์ สัมมาชีววัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปูและ คุณ วิชา สุขุมาวาสี  ประธานชมรมนิคมอุตสาหกรรมบางปู ควงคู่มากับพี่น้อย ( คุณ ชณิญา ชุมภูนุช )มาร่วมให้กำลังใจแก่ทีมนักฟุตบอล ชมรมอุตสาหกรรมบางปู รุ่น อาวุโส 35  UP   เมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2554 เวลา 17.30 น ณ.สนามแข่งขัน เทสโก้ โลตัส บางปู
          วันนี้บรรยายคึกคัก นักฟุตบอลมากันเยอะ ทำให้มีการเปลี่ยนตัวมากหน่อย ผิดกับนัดก่อน ๆ มีตัวสำรองน้อย  ทำให้ทีมวันนี้สุดสูสี ผลัดกันรุกและรับ ชมรมฯ ออกนำไปออก1 :0  ทำให้กองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์กันน่าดู หมายมั่นปั้นมือ ต้อง่ชนะแน่นอน มีทั้งอัดฉีด
แต่แล้วก็สู้แรงพลังหนุ่มของเทสโก้ โลตัส ไม่ไหว โดนยิง ไป 2 ประตู  ทำให้ชมรม ฯ ตามอยู่ 2:1   ชมรม ฯ ก็ไม่ย่อท้อ ขยันวิ่งลืมแก่ ไล่ตีเสมอ มาเป็น 2 : 2   คุณวิวัฒน์ ผอ มาดเข้ม และพี่วิชา หนุ่มตลอดกาล มีลุ้นชนะเป็นนัดแรก เริ่มส่งเสียงเชียร์  แต่เหมือนฟ้ากลั่นแกล้ง แป๊บเดียว โดนยิงหนีห่างออกไปอีก เป็น 3 : 2   ผู้ตัดสินกลาง พี่ประวัติ ฉัตรแหลม ( กื๋อ ) แซวต่อ ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ถ้าพี่วิชา ไม่บอกให้พอ ก็จะไม่กดกริ่งสํญญานหมดเวลา แต่แล้วกรรมการก็กลั๊นใจกดสัญญานหมดเวลา
      แต่สถานการณ์ผิดคลาด นักฟุตบอลกับดีใจ ผมเองนึกว่าทีมชนะซะแล้ว แต่ผิดคาดครับ ดีใจเพราะแพ้ แบบมีลุ้น ( เก็บประตูออกทางประตูน้อยลงอะ ) ฮิฮิ ฮิ แต่ต้องชมผู้รักษาประตู ป้องกันประตูได้อย่างยอดเยี่ยมเลยครับ
      ต้องขอบคุณคณะกรรมการจัดงานในครั้งนี้ด้วยครับ ที่เปิดโอกาสให้กับนักเรียน พนักงานบริษัท บุคคล ประชาชนทั่วไปได้ร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย และคณะกรรการ
พี่ ประวัติ ฉัตรแหลม  พี่อนุชา ปลายยอด และพี่ ต้อม (ถ้าจำไม่ผิด ) ที่ได้ให้เกียรติ์มาเป็นกรรมการตัดสินในครั้งนี้  ผลงานดี เดี่ยวปีให้เป่านกหวีดใน งาน การแข่งขันฟุตบอล ของชมรมอุตสาหกรรมบางปู ที่จัด ช่วงปลายปีนี้แน่นอน และเจ้าหน้าที่ คุณ สุมิตรลาภ นาคแก้ว เจ้าหน้าที่พยาบาล รพ. รัทรินทร์ บางปู ด้วยครับ
      เรามาชมภาพกันเลยดีกว่าครับ         
                                             ขอขอบคุณผู้อ่านและผู้สนใจทุกท่านครับ
                                                          winai.d

1128
ชมรมอุตสาหกรรมบางปูเข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนโครงการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลน54

คุณวิวัฒน์ สัมมาชีววัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปูและคุณ  วิชา สุขุมาวาสี   ประธานชมรมนิคมอุตสาหกรรมบางปู และหน่วยราชการทหาร ตำรวจ สน. บางปู และบริษัทต่าง ๆ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนโครงการอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลน ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาต กองทัพบก (บางปู ) เฉลิมพระเกียรติ ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด สมุทรปราการ  เมื่อ วันที่ พฤหัสบดี ที่ 14 กรกฏาคม 2554 เวลา 8.30 - 12.00 น 

 โดยมีเจ้าหน้าที่ กรมพลาธิการทหารบก บรรยายแนะนำการปลูกป่าชายเลน

ลักษณะการจัดกรรม
   ปลูกป่าชายเลน จำนวน 849 ต้น
กลุ่มเป้าหมาย
    นักเรียนจากโรงเรียนเอี่ยมสุรีย์ จ. สมุทรปราการ ประมาณ 150 คน
    องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง พันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชนโดยรอบนิคม ฯ และพนักงาน และพนักงาน กนอ จำนวนประมาณ 650 คน

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อเป็นการเทิดทูนและถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในปี 2554
     2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนให้มีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด และเป็นพื้นที่สกัดน้ำเสียตามธรรมชาติ รวมทั้งการป้องกันภัยธรรมชาติ
    3. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีความรู้แลความเข้าใจถึงความสำคัญของป่าชายเลน การใช้ประโยชน์รวมทั้งระบบนิเวศน์ของป่าชายเบนและประโยชน์ที่เอื้อต่อสิ่งที่มีชีวิตในทะเล
    4. เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผุ้ประกอบการ โรงเรียน ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปู และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
    5. เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน ให้ตระหนักถึงความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างสมดุล


1129
อุปกรณ์ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเป็นส่วนประกอบที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ใช้ในโรงพยาบาล ได้แก่ เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจคลื่นสมอง เครื่องดูดของเสียออกจากร่างกาย เครื่องปั่นให้สารตกตะกอน (Centrifuge) ตู้เย็น หม้อต้มน้ำร้อนขนาดใหญ่ เป็นต้น

แหล่งที่พบ

อันตรายจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า จะพบได้ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลที่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หน่วยที่ดูแลคนไข้ทั่วไป หน่วยดูแลคนไข้พิเศษ ห้องฉุกเฉิน หน่วยบำรุงรักษา หน่วยบริการ ส่วนเตรียมอาหาร และหน่วยวิจัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนเตรียมอาหาร และบริเวณที่ทำงานซึ่งเปียกชื้น ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรื่อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้ และการดูแลผู้ที่ปฏิบัติงาน ณ ที่นั้น

ผลต่อสุขภาพ

อัตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ การถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือสูญเสียชีวิตได้ โดยมีสาเหตถมาจาก

การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยที่ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าฃำรุดเสียหาย หรือเสื่อมคุณภาพ
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้อ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี
การต่อสายไฟไม่ดี ไม่มีการตัดวงจรไฟฟ้า
การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดลักษณะ การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง เช่น การใช้เต้าเสียบผิดประเภท
ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขาดความรู้ เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ขาดความระมัดระวังในการใช้

ข้อควรระวัง

ช่างไฟฟ้า และบุคลากรที่รับผิดชอบงาน ด้านการบำรุงรักษาไฟฟ้า และบุคคลทั่วไป ควรทราบข้อควรระวัง เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า คือ
อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะ ของเครื่องมือนั้นลงดิน
อุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อถูกนำมาใช้งานในสภาพที่ไม่ปกติ เช่น ที่เปียกชื้น ที่มีความต่างศักย์เกิน 150 โวลท์ บริเวณที่มีอันตรายก็ควรต่อลงดินเช่นเดียวกัน
ควรตรวจสอบสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อต่อ ขั่วที่ติดอุปกรณ์ หากพบว่าชำรุด ให้รีบดำเนินการแก้ไข
อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ ควรได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดเวลา
ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียกน้ำ
ส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ควรมีป้ายแขวนเตือน
การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เช่น มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุมการใช้
ไม่ปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าออก ยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ควรสับสวิตช์ให้วงจรำฟฟ้าเปิด แล้วแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ
ทุกครั้งหลังใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
ไม่นำสารไวไฟ หรือสารที่ติดไฟง่าย เข้าใกล้บริเวณสวิตช์ไฟฟ้า
เมื่อเกิดไฟฟ้าดับ หรือมีผู้ได้รับอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดไฟไหม้ ต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด แล้วทำการดับไฟด้วยเครื่องดับเพลิง ชนิดสารเคมี ไม่ควรใช้น้ำ หรือเครื่องดับเพลิงที่เป็นชนิดน้ำ ทำการดับไฟ
ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟฟ้า

การป้องกัน และควบคุม

การออกแบบ และการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น บริเวณที่เตรียมอาหาร จะมีพื้นที่บางส่วนเปียกชื้นตลอดเวลา การติดตั้ง และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น ได้แก่
ติดตั้งเครื่องตัดวงจรอัตโนมัติ เมื่อมีไฟฟ้ารั่วลงดิน อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ประสิทธิผลมาก คือ Ground Fault Circuit Interupter หรือเรียกว่า GFI หลักการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้านี้ คือ จะขัดขวางวงจรกระแสไฟฟ้า ก่อนที่กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านมาที่คน อุปกรณ์นี้ราคาไม่แพง และควรติดตั้งโดยผู้มีความรู้
ใช้กล้องใส่อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า
ปลั๊กเสียบ และเต้าเสียบ ควรออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานในที่เปียกชื้น
แผงไฟฟ้า ควรมีป้ายบอกชัดเจน ถึงทางออกของเครื่องตัดวงจรไฟฟ้า เช่น breaker หรือ fuse และ breaker switch ไม่ควรนำมาใช้เป็นสวิตช์ เปิด-ปิดไฟ
กล่อง cut out ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ชื้น หรือเปียก ควรมีคุณสมบัติป้องกันความชื้นเข้าไปภายในกล่อง กล่องควรตั้งอย่างน้อย ให้มีช่องว่างห่างจากผนัง 0.25 นิ้ว และกล่องจะต้องทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า
การอบรมให้ความรู้ กับผู้ที่ปฏิบัติงาน หรือรับผิดชอบไฟฟ้า ในเรื่องวิธีการทำงานให้ปลอดภัยกับไฟฟ้า การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกกระแสไฟฟ้า วิธีการขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในโรงพยาบาล ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ที่จะเกิดจากการทำงาน หรือสัมผัสกระแสไฟฟ้า ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อค เนื่องจากกระแสไฟฟ้า

--------------------------------------------------------------------------------

1130
การซ้อมสารเคมีหกรั่วไหล ที่บริษัท สยาม พี วี เอส เคมิคอลส์

คุณวิวัฒน์ สัมมาชีววัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปูและคุณ  วิชา สุขุมาวาสี  ประธานชมรมนิคมอุตสาหกรรมบางปู ได้เข้าร่วมกิจกรรม การซ้อมสารเคมีหกรั่วไหล ที่บริษัท สยาม พี วี เอส เคมิคอลส์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ เมื่อ มีนาคม 2554



1131
 สวัสดีครับ


        ขณะนี้อยู่ในช่วงเปิดทดลองใช้  เชิญสมัครเป็นสมาชิก คลิกที่ลงทะเบียน แล้วกรอกรายละเอียด ตามที่ระบุนะครับ  ผมทำขั้นตอนไว้แล้ว

       

1132
ห้อง แนะนำตัว / ยินดีต้อนรับ สมาชิกใหม่
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 07:12:32 PM »
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ครับ
       
     ผม วินัย อยู่ บริษัท ฟูจิ เอซ จำกัด อยู่ตรงข้ามเมืองโบราณ ได้รับความไว้วางใจให้ร่วม งาน กับ ชมรมอุตสาหกรรมบางปู  เป็นกรรมการชมรม ฯ ด้านประชาสัมพันธ์ครับ
           
      ขอเชิญชวนเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ  มาร่วมสมัคร เป็นสมาชิกกับเวป  ชมรมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ฟรีครับ   มาร่วมกันสร้างสรรค์ สิ่งดีดี ข้อมูล ข่าวสาร หรือกิจกรรมบริษัทของท่าน ให้คนอื่นได้ดูและนำไปเป็นตัวอย่าง ต่อยอด เพื่อให้เพื่อนพนักงานของเรา มีความเป็นอยู่ที่ดี มีชีวิตที่ปลอดภัย มั่นคงในชีวิตการทำงานครับ

    เชิญสมัคร ลงทะเบียน แล้ว แนะนำตัวได้ครับ

1133
อันตรายที่ควรหลีกเลี่ยงในการเชื่อมไฟฟ้า

 



1. รังสีจากการอาร์ค รังสีอุลตราไวโอเล็ทจากการอาร์คจะทำอันตรายต่อสายตา และเผาไหม้ผิวหนังส่วนที่ถูกรังสีนี้อย่างรวดเร็ว
2. ไอพิษ การเชื่อมจะเกิดควัน หรือไอจากออกไซด์ของโลหะงาน และฟลักซ์ ไอของโลหะที่จะทำอันตรายต่อระบบหายใจมากที่สุด ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม สังกะสี เป็นต้น
3. ไฟลวก และไฟไหม้จากสะเก็ดโลหะหลอมละลาย สแล็ก หรือโลหะร้อน ซึ่งเกิดขึ้นในขณะทำการเชื่อมจะทำอันตรายต่อร่างกาย และเกิดลุกไหม้วัสดุต่าง ๆ ได้
4. ไฟฟ้าดูด ถึงแม้ว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ใช้ทำการเชื่อมจะต่ำ แต่ถ้าสภาพการณ์อำนวย เช่น มีความเปียกชื้นสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าดูดผู้เชื่อม เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

กฎความปลอดภัยทั่วไปในการเชื่อม

การเชื่อมจะไม่เกิดอันตรายใด ๆ ถ้าผู้เชื่อมได้มีการป้องกัน และระมัดระวังอยู่ตลอด จนสร้างเป็นนิสัยแห่งความปลอดภัยขึ้น ผู้ปฏิบัติงานควรปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ชุดปฏิบัติงานจะต้องแห้ง ติดไฟยาก รองเท้าต้องมีที่กำบังเม็ดโลหะ ถุงมือหนัง เสื้อหนัง และกระจกหน้ากากที่มีความเข้มพอเหมาะกับงาน
2. บริเวณที่ทำการเชื่อมไม่มีวัสดุติดไฟง่าย วัสดุที่จะเกิดการระเบิดได้ เช่น คาร์บอนเทตตราคลอดไรด์
3. บริเวณที่ทำการเชื่อมจะต้องมีการถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอ
4. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการเชื่อมจะต้องอยู่ในสภาพดีเสมอ
5. ถ้าจำเป็นต้องเชื่อมบนพื้นที่เปียกชื้น ต้องสวมรองเท้ายาง หรือยืนบนแผ่นไม้แห้ง
6. อย่าเชื่อม หรือตัดงานที่วางติดอยู่บนพื้นคอนกรีต

 

ความหมายของการเชื่อม

การเชื่อม (WELDING) คือการต่อโลหะให้ติดกัน โดยให้ความร้อนจนโลหะนั้น หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยจะใช้ลวดเชื่อม หรือไม่ใช้ก็ได้ และจะใช้แรงกดดัน หรือไม่ก็ได้

 

1134
อบรมหลักสูตร กฏหมายแรงงาน ของชมรมนิคมอุตสาหกรรมบางปู

1135
ร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ

กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นำผู้บริหารจากบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ร่วมแฟมทริปส่งเสริมตลาดการจัดประชุมสัมมนา และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลภายในประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ณ จังหวัดนครนายก-ปราจีนบุรี

1136
งานสังสรรค์เลี้ยงส่ง และเลี้ยงต้อนรับผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู คนใหม่


บริษัท GETCO และ GUSGO และพัฒนาที่ดินฯ ร่วมกับกลุ่มชมรมอุตสาหกรรมบางปู
ร่วมจัดงานพบปะสังสรรค์เพื่อเลี้ยงส่ง คุณศรีวณิก หัสดิน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งได้ย้ายไปดำรงค์ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการฯ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเลี้ยงต้อนรับ คุณวิวัฒน์ สัมมาชีววัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ มาดำรงค์ตำแหน่งแทน
งานเลี้ยงจัดขึ้น ณ สวนอาหารฝ้ายคำ ถนนบางนา-ตราด ในวันที่ 31 มีนาคม 2553
 

1137
มอบเงินสนับสนุนกิจกรรม “พลังแห่งการแบ่งปัน” Power of Sharing

นางมณฑา ประณุทนรพาล ผวก.กนอ. รับมอบเงินจากชมรมนิคมอุตสาหกรรมบางปูสนับสนุนกิจกรรม “พลังแห่งการแบ่งปัน” Power of Sharing งานวันคล้ายวันสถาปนา  กนอ. ครบรอบปีที่ 38  ณ สนญ. กนอ.  11  พฤศจิกายน 2553

1138
สสค.สมุทรปราการ บรรยายพิเศษให้กับชมรมอุตสาหกรรมบางปู
 
ภาพผลงานของชมรมฯ ในอดีต

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552 นายปฐม เพชรมณี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ บรรยายพิเศษให้กับชมรมอุตสาหกรรมบางปู เรื่อง บริหารคนอย่างไรในช่วงภาวะวิกฤติ ณ ห้องประชุม สำนักงานนิคมอุตสาหกรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ


1139
เรามาทำความรู้จักกับท่านประธานชมรมอุตสาหกรรมบางปู กันดีกว่าครับ

Name  : Vicha Sukhumavasi    
Position  : ผู้จัดการฝ่ายบริหาร 
Company Name  : บริษัท ลินาเรีย เคมีภัณฑ์ (ประเทศไทย) จำกัด   
Company Address  : 1614 / 589 ซอย 27 หมู่บ้านเคหะชุมชนสมุทรปราการ เทศบาลบางปู ซอย 49 ถนนสุขุมวิท ตำบลท้ายบ้านใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
Mail  : mryodsak@hotmail.com   
Tel.  : 02 – 3952782   

Education :  เภสัชศาสตร์บัณฑิต  มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล)

กิจกรรมเพื่อสังคม
 
 
ประธานชมรมอุตสาหกรรมบางปู (พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน)
รองประธานชมรมสิ่งแวดล้อมสมุทรปราการ (พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน)
ที่ปรึกษาวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์
ที่ปรึกษาเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 จังหวัดสมุทรปราการ


1140
รายละเอียดการแต่งตั้งคณะกรรมบริหารชมรมอุตสาหกรรมบางปู
 
 ::) ::) ::) :-\ :-\ :-\   :D :D :D
   ประธานชมรมฯ          คือ  คุณ วิชา สุขุมาวลี ( ลินาเรีย เคมีภัณฑ์ )
     รองประธาน คนที่1    คือ  คุณ สุนันท์ สันติโชตินันท์ (ถิรไทย )
     รองประธาน คนที่ 2   คือ  คุณ ปัญญา จันทอาภรณ์ ( ไทยอินเตอร์ ฯ )
     รองประธาน คนที่ 3   คือ  คุณ อนุกุล สกุลดำรงพาณิช (ไออะโฆรม )
     เลขาธิการ              คือ  คุณ สุนทรี ศิลป์สาคร (อินนิออสฯ )
     รองเลขาธิการ          คือ  คุณ ภัสราวรรณ หมู่หาญ (สุเทพพั้นช์ แอนด์ดายน์)
     เหรัญญิก               คือ  คุณ สุนันท์ สันติโชตินันท์ (ถิรไทย )
     นายทะเบียน           คือ  คุณ ชณิญา  ชมภูนุช ( ศรีไทย )
     ประชาสัมพันธ         คือ  คุณ วินัย ดวงใจ ( ฟูจิ เอซ )
                              และ คุณ ปราโมทย์ ตั้งสมาจาร ( เมื่องสมุทร)
     ปฏิคมและสันทนาการ คือ  คุณ มานะ เต้นปักษี ( อิโต้)
                               และ คุณ จักรกริช ใหม่ตาจักร (ไลอ้อนไทร์ส )
     ประธานกลุ่มงานบริหารบุคคลและวิชาการ          คือ คุณไพบูลย์ จันทร์วลัยพร ( ฟิลิป )
                                                               และ คุณ ธนุเดช ธานี ( เซ้าท์อีสเอชี่ยน )
     ประธานกลุ่มงานสาธารณูปโภคและความปลอดภัย คือ คุณ ชัยอำนวย กิจพ่อค้า (สยามพีวีเอส)
                                                                 และ คุณ ชาญพงษ์ พูลพิพัฒนันท์ (เคมแฟค) 

                       


      ซึ่งคณะกรรมบริหารชมรมอุตสาหกรรมบางปูซึ่งปีนี้ ท่านประธาน คุณ วิชา สุขุมาวลี กล่าวกับคณะกรรมการชมรมฯ ทุกคน ควรต้องมีบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบทุกคน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างจริงจัง   ซึ่งได้มอบหมายงาน ตามความสามารถที่ถนัด และความเหมาะสม  จากการโหลดเสียง เห็นชอบจากที่ประชุม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด   คณะกรรมการชมรมฯ ทุกท่าน  ต้องมีส่วนร่วม ที่จะผลักดัน การมุ่งมั่น สร้างสรรค พัฒนา สร้างสัมพันธ์ ประสานงานกับทุกหน่วยงาน พร้อมให้ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งที่มีประโยชน์ กับเพื่อนพนักงาน และเจ้าของสถานประกอบ และพร้อมที่นำพาชมรมอุตสาหกรรมบางปู เป็นที่รู้จักกับบุคคลทั่วไป ทั่วประเทศ ในด้านข้อมูล ข่าวสาร  ผลงาน กิจกรรมที่ดี มีปประโยชน์ ให้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงานได้ สร้างความมั่งคงในชีวิต เป็นสุขในการทำงาน 

           

หน้า: 1 ... 74 75 [76]