แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - winai.d

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 76
16

กสร. เพิ่มโอกาสเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายให้แรงงานต่างด้าว ป้องกันปัญหาค้ามนุษย์   

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมประสิทธิภาพเครือข่ายแรงงาน
เพิ่มโอกาสเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายให้แก่แรงงานต่างด้าว ป้องกันการละเมิดสิทธิด้านแรงงาน

          นายสุวิทยา จันทวงศ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองแรงงานต่างด้าว รุ่นที่3-4 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศไทย จำนวน ๒.๖ ล้านคน นอกจากนี้ได้มีการคาดการณ์ว่ามีแรงงานต่างด้าวจำนวนที่เข้ามาทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มแรงงานเหล่านี้ถูกเอารัดเอาเปรียบในการจ้างงาน รวมไปถึงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กสร.ได้ดำเนินในการส่งเสริมให้นายจ้างปฏิบัติต่อแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายโดยไม่เลือกปฎิบัติ ควบคู่ไปกับการตรวจบังคับใช้กฎหมายโดยพนักงานตรวจแรงงาน นอกจากนี้ได้สร้างและพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองแรงงานต่างด้าวซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของแรงงานต่างด้าว องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงาน ซึ่งเครือข่ายฯเหล่าจะช่วยในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่แรงงานต่างด้าว และแจ้งเบาะแสการใช้แรงงานไม่เป็นธรรมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายมากขึ้น

            รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมปฏิบัติการโครงการ สร้างและพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในวันนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้เครือข่ายฯ ที่เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 100 คน ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสิทธิหน้าที่ของนายจ้างลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายและกระบวนการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพิ่มมากขึ้นสามารถประสานความร่วมมือกับกสร.ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

17
หลักปฏิบัติการทำงานในสถานที่ที่อับอากาศ

18
เชิญอบรมหลักสูตร KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย

20

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 มิ.ย. ร.ต.อ.ภูมิวัฒนา ฤทธิ์ทอง ร้อยเวร สอบสวน สน.บางนา รับแจ้งเหตุคนงานหมดสติจมอยู่ในบ่อบำบัดน้ำเสียจำนวนหลายราย เหตุเกิดภายในบริษัทแห่งหนึ่ง ในซอยบางนา 20 ขาเข้า แขวง-เขตบางนา หลังรับแจ้งพร้อมประสานหน่วยกู้ชีพรุดไปตรวจสอบ



ที่เกิดเหตุภายในบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นโรงงานอาหารแปรรูปเนื้อเป็ด ไก่ โดยจุดเกิดเหตุอยู่บริเวณบ่อบำบัดน้ำเสีย ด้านหลังของโรงงาน  พบกลิ่นก๊าซพุ่งออกมาจากบ่อบำบัด และยังพบบันไดไม้ของพนักงานที่พาดลงไปในบ่อบำบัด เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ภายในบ่อ ที่มีอยู่หลายคน เกิดขาดอากาศหายใจ ขณะลงไปภายในบ่อบำบัดดังกล่าว เนื่องจากบริเวณด้านล่างของบ่อบำบัด มีอากาศไม่เพียงพอ เบื้องต้นผู้พบเห็นเหตุการณ์ช่วยเหลือนำขึ้นมาได้ 1 ราย เป็นชาย และถูกนำส่งรพ.ก่อนหน้านี้ อาการสาหัส



ขณะเดียวกันเร่งช่วยเหลือผู้สูญหายอีก 4 ราย โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยใส่หน้ากากกันก๊าซพิษ ลงไปที่ด้านล่างของบ่อบำบัดเพื่อค้นหา โดยใช้เวลา 30 นาที จนพบร่างผู้เสียชีวิต เป็นชาย 2 ราย หญิง 2 ราย รวม 4 ราย อยู่บริเวณก้นบ่อบำบัด สาเหตุมาจากขาดอากาศหายใจ โดยทยอยนำศพขึ้นมาจากบ่อบำบัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังเกิดเหตุ ทางบริษัทปิดรั้วบริเวณด้านหน้า พร้อมทั้งกันไม่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่


สำหรับรายชื่อผู้เสียชีวิต ทราบชื่อคือ 1.นายพรชัย บุญบาน อายุ 40 ปี พนักงานบริษัท  2.นายชาญชัย พันธุนาคิน อายุ 42 ปี พนักงานของบริษัท 3.น.ส.รัชชนก แสนทวีสุน อายุ 24 ปี เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของบริษัท และ 4.น.ส.ปัญธิกา ตาสุวรรณ อายุ 23 ปี นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทราบชื่อ นายชาตรี ศรีสันคร ไม่ทราบอายุ พนักงานบริษัท หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานได้ เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกันพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำผู้อยู่ในเหตุการณ์ และยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่นักศึกษาพลัดตกลงไปพร้อมคนงาน ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบ่อบำบัด เร่งตรวจสอบภายในโรงงาน เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตในครั้งนี้ พร้อมมอบศพส่งให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อชันสูตรต่อไป

ด้าน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านทรัพยากรบุคคล ของบริษัท  เปิดเผยว่า ทางบริษัทขอแสดงความเสียใจกับนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของบริษัท กับครอบครัวผู้สูญเสียชีวิตในครั้งนี้

เบื้องต้นทราบว่าในวันนี้มีนักศึกษาฝึกงาน เข้ามาเยี่ยมดูงานภายในโรงงาน จำนวน 2 คน เมื่อถึงจุดเกิดเหตุนักศึกษาคนหนึ่งพลัดตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสีย เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ทำหน้าที่พานักศึกษาเยี่ยมชมโรงงานได้พยายามช่วยเหลือ ส่วนศึกษาอีกคนได้วิ่งออกไปขอความช่วยเหลือด้านนอก

จากนั้นคนงานอีก 3 คนเข้ามาช่วยเหลือ และเสียชีวิตทั้งหมดในเวลาต่อมา ขณะนี้สาเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ว่า นักศึกษาพลัดตกลงไปในบ่อได้อย่างไร เนื่องจากที่เกิดเหตุเป็นบ่อปิด ประกอบกับจุดนี้ไม่มีกล้องวงจรปิด จึงต้องรอผลการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางนาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามขอเรียนว่าทางบริษัทฯพร้อมเยียวยาให้กับผู้เสียชีวิตทั้งหมด

21
อันตรายที่แฝงมากับงานเชื่อม

เรียบเรียงโดย...นาวาโทหญิง ดวงกมล วงษ์สวรรค์


          การเชื่อมโลหะเป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคารร้านค้าต่างๆ ตลอดจนเครื่องจักรกลต่าง ๆก็ต้องเชื่อมยึดเพื่อให้เกิดความมั่นคง การเชื่อมโลหะก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่รังสีจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า หรือแก๊ซ คือรังสีอุลตราไวโอเล็ต เมื่อผู้เชื่อมได้รับรังสีนาน ๆ เข้าก็อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้หรือ ทำให้ผิวหนังตกกระแก่ก่อนวัย ผิวหนังเหี่ยว แสงที่เกิดจากการเชื่อมเป็นแสงที่มีความเข้มข้นมากถ้ามองด้วยตาเปล่า สายตาอาจจะเสียหรือบอดได้ นอกจากแสงแล้วอาจจะมีสะเก็ดโลหะที่ร่อนกระเด็นเข้าสู่ตาได้ The American Natinal Standard Institute (ANSI) Bulletin E49.1 จัดพิมพ์โดย The American Welding Society อ้างอิงได้ว่า ควันและแสงจากการเชื่อมเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยแบ่งอันตรายที่เกิดขึ้นนี้ออกเป็นข้อย่อย 3 ข้อ คือ
1.อันตรายจากควันของการเชื่อม
2.อันตรายจากแสงจากการเชื่อม
3.ไฟฟ้าดูด



1. อันตรายจากฟูม (FUME)และก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
         ฟูม (Fume) เป็นอนุภาคของแข็งที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นของสารที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ โดยทั่วไปสารนั้นๆ จะอยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง เมื่อได้รับความร้อนก็จะระเหยและจะควบแน่นทันที ตัวอย่างฟูมที่พบในการทำงาน ได้แก่ ฟูมของตะกั่วออกไซด์ ฟูมของเหล็กออกไซด์ฯลฯ มนุษย์ได้เรียนรู้วิธีการเชื่อมมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยได้ตระหนักถึงอันตรายของฟูมและก๊าซที่เกิดขึ้นในงานเชื่อมสักเท่าไร การศึกษาในประเภทนี้เพิ่งจะเริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1970-1980 เท่านั้น จากการวิเคราะห์พบว่าสารเหล่านี้มีส่วนประกอบของโลหะออกไซด์และสารที่เคลือบบนลวดเชื่อม ซึ่งสารเหล่านี้จะปะปนอยู่ในอากาศที่ใช้ในการหายใจและอาจผ่านเข้าสู่ปอดได้ พัดลมดูดอากาศสามารถใช้เพื่อกำจัดฟูมเหล่านี้ออกจากบริเวณทำงานได้ แต่ควรระวังอย่างให้ฟูมเหล่านี้หมุนเวียนเข้ามาสู่บริเวณหายใจ    สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือ ถ้าปริมาณมากขึ้นอัตราการถ่ายเทอากาศควรมีค่าสูงขึ้นเช่นกัน
ค่าความเข้มข้นของฟูมในบรรยากาศรอบๆบริเวณทำงานจะต้องถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแต่ในทางปฏิบัติแล้วควรจะกำจัดออกให้หมด จะต้องระวังที่จะไม่หายใจเอาฟูมนี้เข้าไป นอกจากนี้ในระหว่างการเชื่อมอาจเกิดก๊าซพิษร่วมกับควัน ก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคือ

           1) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ มักเกิดในบรรยากาศแต่อาจเกิดได้ขณะทำการเชื่อม จะก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ตา จมูกและลำคอ อาจทำให้หมดสติได้ ควรติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่เพื่อแก้ปัญหานี้

           2) ก๊าซโอโซน (เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตทำปฏิกิริยากับออกซิเจน) มักเกิดจากการเชื่อมที่ใช้อาร์กอน ซึ่งเป็นก๊าซที่ใช้ตัดเหล็ก ในการเชื่อมควันจากการเชื่อมทังสเตนหรือการเชื่อมด้วยก๊าซ ก๊าซโอโซนจะก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและเยื่อบุโดยจะทำให้เกิดโรค Pulmonary edema โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเรื้อรัง

           3) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเชื่อมหรือเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารบางชนิด เช่น สี หรือ ไข อาจเกิดอันตรายจากการได้รับก๊าซนี้มีอาการมึนงง เวียนศรีษะ หรือหมดสติและเสียชีวิตได้
ฯลฯ

2. อันตรายจากแสงจากการเชื่อม
            แสงจ้าจากการเชื่อมเป็นอันตรายต่อดวงตาและอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้รังสีในห้องเชื่อมที่เป็นอันตรายจะอยู่ในช่วงความถี่ตามองไม่เห็น คือช่องรังสีใต้แดง(infrared)และรังสีเหนือม่วง(ultraviolet) รังสีทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอันตรายต่อสายตาและผิวหนังได้อย่างรุนแรง คือ ดวงตาระคายเคืองถึงกับอักเสบและน้ำตาไหล ผิวหนังส่วนที่ได้รับรังสีจะเป็นเหตุให้ผิวไหม้และรู้สึกปวดแสบปวดร้อนเป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมงขึ้นไป ยาวนานตามระยะเวลาที่ได้รับรังสีนั้น ๆ ก๊าซบางชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ จะสามารถกรองและดูดซับรังสีนี้ได้มาก แต่ในทางตรงกันข้าม อาร์กอนจะไม่มีผลต่อการลดความเข้มของรังสีเหนือม่วง ดังนั้นบุคคลที่เชื่อมโดยใช้อาร์กอนจึงมีความเสี่ยงต่อรังสีเหนือม่วงมากกว่าบุคคลที่เชื่อมโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์  สารที่เคลือบลวดเชื่อมหลายชนิดจะให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาขณะเกิดการเผาไหม้ นอกจากนี้ สารที่เคลือบลวดเชื่อมบางชนิดจะมีผลต่อการลดการแพร่รังสีเหนือม่วงอีกด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วอัตราการแพร่รังสีของรังสีเหนือม่วงในงานเชื่อมประเภทการเชื่อมด้วยก๊าซยังมีค่าสูง


           ดังนั้นควรปกป้องสายตาโดยการใช้กระจกค่าตัดแสงที่เหมาะสมกับชนิดของงาน American Welding Society ได้กำหนดระดับความเข้มข้นของแผ่นตัดแสงที่เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละประเภท ดังนั้นจึงควรเลือกใช้แผ่นตัดแสงที่มีความเข้มสูงกว่าที่กำหนดได้เสมอ แต่อย่าใช้แผ่นที่มีความเข้มต่ำกว่าที่กำหนด แผ่นกรองแสงนี้อาจทำมาจากกระจก พลาสติก อาจมีการเคลือบทองในลักษณะที่มนุษย์อวกาศใช้ ถ้าใช้แผ่นกรองแสงเคลือบทอง ควรตรวจสอบการเคลือบว่าไม่มีรอยขีดข่วนใด ๆ เนื่องจากดวงตาจะไม่สามารถรับรู้อาการเจ็บป่วยได้จนกว่าดวงตาจะถูกรังสีต่าง ๆ จะทำลายอย่างรุนแรงและอาจเป็นการทำลายโดยถาวร

           แสงจ้าจากการเชื่อมสามารถทำอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกัน ผู้เชื่อมควรสวมใส่เสื้อผ้าสีเข้มไม่สะท้อนแสง ถ้าสวมใส่ชุดสีอ่อนขณะทำการเชื่อมอาจสะท้อนแสดงจากการเชื่อมจะเกิดอาการไหม้ บริเวณลำคอได้ การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน และเลือกสีเสื้อผ้าที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันได้ควรมีการปกปิดผิวหนังทุกส่วน

3.ไฟฟ้าดูด
           ระบบไฟฟ้าในการเชื่อมชนิดเชื่อมไฟฟ้า จะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟและจบลงที่สายดิน กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสู่ชิ้นงาน กระแสที่มีประจุตรงกันข้ามจะไหลในทิศทางกลับกัน  กระแสไฟฟ้าจะต้องไหลลงสู่ดินเพื่อให้วงจรสมบูรณ์ และในการไหลลงสู่ดินนี้กระแสไฟฟ้า  จะเลือกทางเดินที่สะดวกที่สุดเสมอ กระแสไฟฟ้าที่ใช้จะมีความต่างศักย์ 80 โวล์ท การลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ดังกล่าว อาจไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก่อให้เกิดอันตรายอื่น ๆ ได้ เช่น เป็นแหล่งความร้อน ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ไม่ควรใช้เครื่องเชื่อมที่ใช้ในไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับบนชิ้นงานเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ในกรณีที่ร่างกายของผู้เชื่อมสัมผัสกับขั้วไฟฟ้าที่ต่างกัน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวผู้เชื่อม อาจสูงถึงขั้นเป็นอันตรายได้ ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ากระแสไฟฟ้า 80 โวล์ท ไม่มีอันตรายถึงกับชีวิต  แต่จะมีผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การพลัดตกจากนั่งร้าน อย่าพันสายไฟไว้รอบตัวเพราะฉนวนหุ้มสายไฟอาจอยู่ในสภาพชำรุด  เลือกใช้มือจับลวดเชื่อมให้เหมาะสมกับไฟฟ้าที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดความร้อนสูง แต่ถ้าเกิดความร้อนสูงขึ้นแล้วอย่าแช่มือจับลวดเชื่อมลงในน้ำ อย่าทิ้งมือจับลวดเชื่อมไว้โดยไม่ดูแล ควรระวังการเกิดเพลิงไหม้ เตรียมเครื่องดับเพลิงไว้ในบริเวณทำงาน ถ้าหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรเชื่อมวัสดุที่ติดไฟได้เป็นแนวยาวเกิน 35 ฟุต ถ้าจำเป็นต้องทำจะต้องแต่งตั้งคนคอยระวังเพื่อตรวจตราและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพราะผู้เชื่อมไม่สามารถมองเห็นไฟได้ขณะทำการเชื่อม จะพบเห็นต่อเมื่อลุกลามจนยากต่อการควบคุม อาจเกิดการระเบิดขณะทำการเชื่อม ผงฝุ่นเล็ก ๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศเกิดการลุกไหม้

ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในงานเชื่อมโดยเคร่งครัด
           โปรดจำไว้ว่า ควันจากการเชื่อม ฟูมและก๊าซเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  แสงจ้าจากการเชื่อมเป็นอันตรายต่อดวงตา และอาจทำให้ผิวหนังไหม้ได้  กระแสไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อชีวิต     

ข้อปฏิบัติในการเชื่อมโลหะ  เพื่อความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะ ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1  ตรวจสอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์การเชื่อมโลหะให้มีความสมบูรณ์ใน การใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไฟฟ้า
2  ปิดเครื่องเชื่อมทุกครั้งหลังจากหยุดการเชื่อมและเคลื่อนย้ายเครื่องเชื่อม
3  สวมหน้ากากหรือต้องสวมแว่นตาและเลือกกระจกแสงให้ถูกต้องทุกครั้งในการเชื่อม จะเป็นชนิดสวมหัว (Halmet shield) หรือชนิดมือถือ (Hand shield) ก็ได้ และต้องเลือกกระจกกรองแสงให้ตรงตามมาตรฐาน ตามลักษณะงานที่นำไปใช้ และจำนวนกระแสไฟเชื่อมด้วย
4  สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5  ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงไม่ควรมองแสงอาร์กด้วยตาเปล่า
6  บริเวณงานเชื่อมควรมีฉากป้องกันแสงอาร์ก เพื่อมิให้รบกวนบุคคลอื่น
7  บริเวณทำงานเชื่อมไม่ควรเปียกชื้นเพราะจะทำให้ไฟฟ้าดูด ผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลอื่นได้
8  บริเวณทำงานเชื่อมจะต้องปราศจากสารไวไฟชนิดต่าง ๆ
9  เครื่องเชื่อมไฟฟ้าควรจัดตั้งในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

 


เอกสารอ้างอิง

ภาวะมลพิษ ภัยใกล้ตัว : สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน
เอกสารความปลอดภัย สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
 

22
สะเก็ตไฟจากการเชื่อม.

วันนี้ (18 มิ.ย.60 ) เวลา 11.00 น.เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร ของโรงแรมพีพลัส ตั้งอยู่ในซอย 23 เฉลิมพระเกียรติ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ที่เกิดเหตุอยู่ภายในตัวอาคาร บริเวณชั้นใต้ดินพบเพลิงกำลังลุกไหม้อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่จึงระดมฉีดน้ำเข้าสะกัดเพลิงที่กำลังลุกไหม้ โดยใช้เวลากว่า 30 นาที จนสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้
สาเหตุเกิดจากผู้รับเหมาเข้ามาทำงานในห้องเก็บของชั้นใต้ดินโดยใช้เครื่องเชื่อมทำให้เกิดสะเก็ดไฟจากการเชื่อมตกใส่แผ่นกระดาษที่อยู่ภายในห้องทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มูลค่าความเสียหายกว่า 50,000 บาท

 

23
กิจกรรม “วันงดสูบบุหรี่โลก” 31/5/2017
สวัสดีครับ  ขอนำกิจกรรมดีดีมาเผยแพร่ต่อนะครับ ต้องขอขอบคุณลูกหยี’ ชูวั๊บๆ

ลูกหยี’ ชูวั๊บๆ


24
หนุ่มคนงานชาวกัมพูชา ถูกเครื่องจักรหนีบทับแขนสาหัส
560000004078001

ศูนย์ข่าวศรีราชา – หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือหนุ่มคนงานชาวกัมพูชา ถูกเครื่องจักรปั๊มแบบผ้าตู้เย็นขนาดใหญ่หนีบทับแขนได้รับบาดเจ็บสาหัส

วันนี้ (19 เม.ย.) เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยเพียวเยี้ยงไท้ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่า มีคนงานถูกเครื่องจักรขนาดใหญ่หนีบทับแขนจนได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดที่บริษัท เอส เค เอ็ม เทค จำกัด เลขที่ 287/1-3 หมู่ 6 ต.บึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี หลังรับแจ้งจึงได้เดินทางไปตรวจสอบ พร้อมกับนำอุปกรณ์ช่วยเหลือไปยังที่เกิดเหตุ

ในที่เกิดเหตุพบ นายเฮียง มินซา ชาวกัมพูชา อายุ 36 ปี ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทดังกล่าว ถูกเครื่องจักรปั๊มแบบผ้าตู้เย็นขนาดใหญ่หนีบทับแขนข้างขวาจนหัก ไม่สามารถเอาออกได้ อยู่ในอาการเจ็บปวด ส่งเสียงร้องให้ช่วยอยู่ตลอดเวลา จากนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยต้องใช้แม่แรงดันแผงตัวปั๊มของเครื่องจักรดังกล่าวขึ้นเพื่อนำแขนที่ถูกทับนั้นออกจากเครื่องจักร โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสามารถนำออกมาได้อย่างสำเร็จ ก่อนทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลแหลมฉบัง เพื่อให้แพทย์ทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

จากการสอบถามเพื่อนร่วมงานด้วยกันให้การว่า นายเฮียง ผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นพนักงานใหม่ ยังไม่ชินกับเครื่องจักร โดยขณะปั๊มชิ้นงานนั้นเกิดจังหวะพลาดเอามือเข้าไปสอดในเครื่องจักร จึงเป็นเหตุให้เครื่องจักรหนีบทับแขนจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือดังกล่าว


25
สวัสดีครับ
       ต้องขอขอบคุณ น้องจป. สุมาลี และผู้บริหาร บริษัทโอบริสท์ (ประเทศไทย) ซอย 11 บี นิคมอุตสาหกรรมบางปู ที่ให้โอกาสไปเผยแพร่ความรู้ ด้านกิจกรรมความปลอดภัย  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา
        ลดอุบัติเหตุเป็น ศูนย์  ด้วย  มือชี้ ปากย้ำ  การเตือนสติก่อนปฏิบัติงาน KYT   คาดการณ์อันตรายล่วงหน้าจากงานที่ทำ โดยถ่ายภาพจุดเสี่ยงอันตราย ( NEAR MISS) ทำเป็นกลุ่มย่อย ระดมสมอง ค้นหาอันตราย และหามาตรการป้องกันแก้ไขด้วยพฤติกรรม  หามาตรการที่ดีที่สุด ทำเป็นสโลแกนที่จำได้ง่าย  สร้างความสามัคคี วินัยในการทำงานได้
       

26
สวัสดีครับ
       ต้องขอขอบคุณน้อง จป สุมาลี และผู้บริหารบริษัทโอบริสท์ (ประเทศไทย) จำักัด 978 หมู่ 4 นิคมอุตสาหกรรม บางปู ซอย 11 บี ถนนสุขุมวิท ตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ 10280. ที่ให้โอกาสผมไปเผยแพร่ ความรู้ ด้านการสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน " Safety Mind" เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2560

      อุบัติเหตุเกิดขึ้นส่วนใหญ่ ถ้าไม่เกิดกับคนที่เรารัก ที่เรารู้จัก ญาติพี่น้อง เพื่อนร่วมงาน ก็จะไม่คิด ไม่ให้ความสำคัญสักเท่าไร  ผลกระทบมากมาย เรียกว่า ประเมินค่าไม่ได้ ดังนั้นเราต้องรู้ถึงอันตรายจากพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตราย ปรับเปลี่ยนพฤติให้ปลอดภัย...
     ผมนำภาพการอบรมมาเผยแพร่ในครั้งนี้ด้วย

27
สวัสดีครับ

    สวัสดีครับ
    ขอนำสัปดาห์ ความปลอดภัย ของบริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด  " Cargill Safety Day 2016 "

ขอบคุณที่นำมาเสนอผลงาน โดยมืออาชีพ

อินสเปคเตอร์ คอนซัลแตนท์ พลัส

สัปดาห์ความปลอดภัย กับ คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์)
สวัสดีครับ

ขอนำสัปดาห์ ความปลอดภัย ของบริษัท คาร์กิลล์มีท (ไทยแลนด์) จำกัด  ” Cargill Safety Day 2016 ”

ขอบคุณที่นำมาเสนอผลงาน โดยมืออาชีพ

อินสเปคเตอร์ คอนซัลแตนท์ พลัส


28
สยอง! 2 คนงานตกเครื่องโม่ปูน 20 ม. ในไซต์ก่อสร้าง รพ. คอขาด กระดูกแหลก

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/785757



สยอง! 2 คนงานผสมปูนเครื่องโม่ ถูกใบพัดเครื่องบดร่างแหลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559, 15:19 น.

พ.ต.ท.สุศรันย์ ศรีบุญเจริญชัย สว.(สอบสวน) สภ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุสองคนงานผสมปูนถูกใบพัดเครื่องผสมปูนบดร่างเสียชีวิต ภายในแพลนท์ปูนไซร์งานก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี บางพลีหมู่ 14 ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังรับแจ้งจึงเดินทางไปตรวจสอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน และมูลนิธิร่วมกตัญญู

ที่เกิดเหตุเป็นแพลนท์ปูนของบริษัท xxx จำกัด ภายในเครื่องผสมปูนขนาดใหญ่สูงประมาณ 20 เมตร พบร่างผู้เสียชีวิตเป็นชาย 2 รายติดอยู่ภายในเครื่อง และบางส่วนของศพขาดตกลงมาทางช่องด้านล่าง ทราบชื่อคือ xx อายุ 24 ปี ชาว จ.นครสวรรค์ และนาย yy อายุ 28 ปี ชาว จ.ชัยภูมิ สภาพถูกใบพัดเครื่องผสมปูนบดจนแหลกเหลว โดย นายxxขาข้างขวาขาดตกลงมาด้านล่าง ส่วนลำตัวและศีรษะติดอยู่ในเครื่องผสมปูนด้านบน ส่วนนายyyถูกใบพัดบดจนลำคอขาด เหลือเพียงแผ่นหนังด้านหลังติดเอาไว้เท่านั้น เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ช่วยกันถอดชิ้นส่วนของเครื่องผสมปูนดังกล่าวออก ใช้เวลานานกว่า 1 ชั่งโมง จึงสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตทั้งสองออกมาได้ด้วยความลำบาก จากการตรวจสอบสภาพศพพบว่านายxx แขนและขาด้านขวาฉีดขาด ส่วนนายนิกุล กะโหลกศีรษะเปิด คอขาด และขาทั้ง 2 ข้างกระดูกแหลกเหลว จึงได้มอบศพให้มูลนิธินำส่งชันสูตรสถาบันนิติเวช



จากการสอบปากคำนาย uu อายุ 44 ปี คนคุมงานซึ่งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ให้การว่า ทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแพล้นปูนดังกล่าว มีหน้าที่ดูแลควบคุมเครื่องผสมปูน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทั้ง 2 คนได้เข้ากะกลางคืน จนกระทั่งช่วงสายของวันนี้ก่อนที่ผู้ตายจะส่งกะงานต่อต้องลงไปทำความสะอาดเครื่องผสมปูนก่อน โดยการเข้าไปสกัดเอาขี้ปูนออกจากใบพัดและในเครื่อง แต่คาดว่าในระหว่างที่ผู้ตายทั้งสองเข้าไปสกัดขี้ปูนในเครื่องอยู่พักใหญ่ ส่วนตนกำลังยืนรอจะเข้ากะทำงานอยู่ด้านล่าง จู่ๆได้เห็นขาของผู้ตายขาด และตกลงมาบนที่ตักของรถเกรดที่เอาไปรองรับขี้ปูน ด้วยความตกใจจึงได้รีบวิ่งขึ้นไปดู ก็พบร่างผู้เสียชีวิตทั้งสองถูกใบพัดเครื่องผสมปูนบดจนร่างแหลกเหลวติดคาอยู่ในเครื่องดังกล่าว จึงรีบตะโกนบอกเพื่อนร่วมงานให้มาช่วยและแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่า ระหว่างที่ผู้ตายทั้งสองกำลังลงไปสกัดขี้ปูนอยู่ในเครื่อง ในระหว่างที่ผู้ตายกำลังใช้เครื่องเจาะสกัดปูนที่ใบพัดเครื่องผสมปูนแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้ใบพัดของเครื่องผสมปูนขนาดใหญ่เกิดการเคลื่อนตัวหมุนรอบตัวเอง จึงทำให้ผู้ตายทั้งสองพลัดตกลงไปในร่องใบพัดและถูกใบพัดของเครื่องผสมปูน ซึ่งมีขนาดใหญ่บดทับจนร่างกายแหลกเหลวเสียชีวิตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการกฎหมายต่อไป

ข้อความสำคัญ

คนคุมงานซึ่งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ให้การว่า ทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแพล้นปูนดังกล่าว มีหน้าที่ดูแลควบคุมเครื่องผสมปูน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทั้ง 2 คนได้เข้ากะกลางคืน จนกระทั่งช่วงสายของวันนี้ก่อนที่ผู้ตายจะส่งกะงานต่อต้องลงไปทำความสะอาดเครื่องผสมปูนก่อน โดยการเข้าไปสกัดเอาขี้ปูนออกจากใบพัดและในเครื่อง แต่คาดว่าในระหว่างที่ผู้ตายทั้งสองเข้าไปสกัดขี้ปูนในเครื่องอยู่พักใหญ่ ส่วนตนกำลังยืนรอจะเข้ากะทำงานอยู่ด้านล่าง จู่ๆได้เห็นขาของผู้ตายขาด และตกลงมาบนที่ตักของรถเกรดที่เอาไปรองรับขี้ปูน ด้วยความตกใจจึงได้รีบวิ่งขึ้นไปดู ก็พบร่างผู้เสียชีวิตทั้งสองถูกใบพัดเครื่องผสมปูนบดจนร่างแหลกเหลวติดคาอยู่ในเครื่องดังกล่าว จึงรีบตะโกนบอกเพื่อนร่วมงานให้มาช่วยและแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

http://www.thairath.co.th/content/785757

ข้อความสำคัญ
คนคุมงานซึ่งเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ให้การว่า ทั้ง 2 คนเป็นพนักงานของบริษัทแพล้นปูนดังกล่าว มีหน้าที่ดูแลควบคุมเครื่องผสมปูน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายทั้ง 2 คนได้เข้ากะกลางคืน จนกระทั่งช่วงสายของวันนี้ก่อนที่ผู้ตายจะส่งกะงานต่อต้องลงไปทำความสะอาดเครื่องผสมปูนก่อน โดยการเข้าไปสกัดเอาขี้ปูนออกจากใบพัดและในเครื่อง แต่คาดว่าในระหว่างที่ผู้ตายทั้งสองเข้าไปสกัดขี้ปูนในเครื่องอยู่พักใหญ่ ส่วนตนกำลังยืนรอจะเข้ากะทำงานอยู่ด้านล่าง จู่ๆได้เห็นขาของผู้ตายขาด และตกลงมาบนที่ตักของรถเกรดที่เอาไปรองรับขี้ปูน ด้วยความตกใจจึงได้รีบวิ่งขึ้นไปดู ก็พบร่างผู้เสียชีวิตทั้งสองถูกใบพัดเครื่องผสมปูนบดจนร่างแหลกเหลวติดคาอยู่ในเครื่องดังกล่าว จึงรีบตะโกนบอกเพื่อนร่วมงานให้มาช่วยและแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
http://www.thairath.co.th/content/785757
ข้อสันนิษฐาน : ขณะลูกจ้างทำงานอยู่ในเครื่องโม่ปูน มีคนไปกดสวิตซ์เปิดให้เครื่องโม่ปูนทำงาน จึงเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้ขึ้น
: เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่อยู่ในข่ายต้องจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้างด้วย
ข้อจำกัด : วิเคราะห์จากภาพและข้อมูลจากข่าว เท่าที่ปรากฏ
1. มาตรการป้องกัน
1.1 จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในงานก่อสร้าง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ซึ่งทำให้รู้ว่าในแต่ละช่วง มีขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้างอะไรบ้าง มีใช้เครื่องจักร มีอันตรายและมาตรการป้องกันอย่างไร กฏหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละช่วงมีอะไรบ้าง
1.2 ชี้บ่งอันตราย และจัดทำมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
1.3 ศึกษาข้อกำหนดของกฏหมาย (เป็นหนึ่งในเครื่องมือการชี้บ่งฯ >>> Checlist) ตามประเด็นกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง)
1) จัดทำข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน / วิธีการทำงานที่ปลอดภัยของเครื่องโม่ปูน(เครื่องผสมปูน) ซึ่งอย่างน้อยต้องมีขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัย (ได้มาจากการประเมิน/การชี้บ่งอันตรายและมาตรการป้องกัน) + อบรม/ฝึกปฏิบัติ+ แจกคู่มือการปฏิบัติงานที่ลูกจ้างรายนั้นๆ เกี่ยวข้อง >>>
ก่อนที่ลูกจ้าง จะเข้าไปทำงานในเครื่องผสมปูน >>>ต้องติดป้ายแสดงการดําเนินการดังกล่าว โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทํางาน และให้แขววนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย
ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กํากับ ดูแล
ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กํากับ ดูแล โดยกําหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับ
(เชื่อมโยง : การอบรมตามมาตรา 16 ของ พรบ. ความปลอดภัยฯ 2554 ให้ลูกจ้างทั่วไปทุกคน >>>กำหนดหัวข้อ ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน 3 ชั่วโมง)
ผู้รับเหมาชั้นต้น >>>ต้องจัดทำข้อบังคับและคู่มือฯ สำหรับผู้รับเหมาช่วงสทุกราย ที่เข้ามาปฏิบัติงานในไซต์ก่อสร้างด้วย
2) แจ้งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานให้ลูกจ้าง/ผู้รับเหมาทราบ สื่อสาร/แจกคู่มือวิธีการปฏิบัติงาน
3) ประกาศกําหนดวิธีการทํางานของลูกจ้าง และติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ไว้ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงาน
4) จัดให้มีผู้ควบคุมงาน เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยทุกขั้นตอน
2. ประเด็นกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงแรงงาน)
2.1 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ํา พ.ศ. 2552
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=257:-m—m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186
ข้อ 4 ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือ การตรวจสอบเครื่องจักรหรือ เครื่องป้องกัน อันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดําเนินการดังกล่าว โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทํางาน และให้แขววนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย
ข้อ 8 เครื่องปมโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไส หรือเครื่องจักรที่อาจก้อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ นายจ้างต้องประกาศกําหนดวิธีการทํางานของลูกจ้าง ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทํางาน
2.2 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=256:-m—m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186

หมวด 1 บททั่วไป

ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
(1) งานอาคารซึ่งมีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ ๑๕ เมตร ขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใด ในหลังเดียวกันเกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
(2) งานสะพานที่มีช่วงความยาวตั้งแต่ ๓๐ เมตร ขึ้นไป หรืองานสะพานข้ามทางแยกหรือ ทางยกระดับ สะพานกลับรถ หรือทางแยกต่างระดับ
(3) งานขุด ซ่อมแซม หรือรื้อถอนระบบสาธารณูปโภคที่ลึกตั้งแต่ ๓ เมตร ขึ้นไป
(4) งานอุโมงค์หรือทางลอด
(5) งานก่อสร้างอื่นที่อธิบดีประกาศกาศกำหนด
แผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๒
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=125:%25E0%25B9%2592%25E0%25B9%2595%25E0%25B9%2595%25E0%25B9%2597-%25m-%25E0%25B9%2592%25E0%25B9%2596-%25E0%25B9%2590%25E0%25B9%2593-%25M-%25S&id=2:-m-m-s&Itemid=186
2. ประเด็นกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงแรงงาน)
2.1 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ํา พ.ศ. 2552
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=257:-m—m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186
ข้อ 4 ในบริเวณที่มีการติดตั้ง การซ่อมแซม หรือ การตรวจสอบเครื่องจักรหรือ เครื่องป้องกัน อันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดําเนินการดังกล่าว โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ ป้องกันมิให้เครื่องจักรนั้นทํางาน และให้แขววนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย

ข้อ 8 เครื่องปั้
มโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไส หรือเครื่องจักรที่อาจก้อใหเกิดอันตรายได้โดยสภาพ นายจ้างต้องประกาศกําหนดวิธีการทํางานของลูกจ้าง ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทํางาน

2.2 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=256:-m—m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186
หมวด 1 บททั่วไป
ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง ดังต่อไปนี้
(1) งานอาคารซึ่งมีพื้นที่รวมกันทุกชั้น หรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกัน เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ ๑๕ เมตร ขึ้นไป และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใด ในหลังเดียวกันเกิน ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
(2) งานสะพานที่มีช่วงความยาวตั้งแต่ ๓๐ เมตร ขึ้นไป หรืองานสะพานข้ามทางแยกหรือ ทางยกระดับ สะพานกลับรถ หรือทางแยกต่างระดับ
(3) งานขุด ซ่อมแซม หรือรื้อถอนระบบสาธารณูปโภคที่ลึกตั้งแต่ ๓ เมตร ขึ้นไป
(4) งานอุโมงค์หรือทางลอด
(5) งานก่อสร้างอื่นที่อธิบดีประกาศกาศกำหนด
แผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกําหนด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางานสําหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๒
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=125:%25E0%25B9%2592%25E0%25B9%2595%25E0%25B9%2595%25E0%25B9%2597-%25m-%25E0%25B9%2592%25E0%25B9%2596-%25E0%25B9%2590%25E0%25B9%2593-%25M-%25S&id=2:-m-m-s&Itemid=186

http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=139:-m—m-s&id=3:-m-m-s&Itemid=186 : คู่มือแนวการจัดทําแผนงานด้านความปลอดภัยในการทํางาน สําหรับงานก่อสร้าง

“ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอํานวยการหรือควบคุมดูแลงานก่อสร้าง ตามลักษณะและประเภทของงาน

ข้อ 5 ให้นายจ้างจัดให้มีผู้ควบคุมงานทําหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทํางานก่อนการทํางานและขณะทํางานทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

2.3 กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.2549
http://www.oshthai.org/index.php?option=com_phocadownload&view=category&download=254:-m—m-s&id=1:law-ministry&Itemid=186

ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานไว้ในสถานประกอบกิจการ ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องกําหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเพื่อควบคุมมิให้มีการกระทําที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กํากับ ดูแล โดยกําหนดให้เป็น หน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับ
ข้อ 4 ให้นายจ้างซึ่งมีผู้รับเหมาชั้นต้น หรือ ผู้รับเหมาช่วงเข้ามาปฏิบัติงานในสถาน ประกอบกิจการ จัดให้มีข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓ สําหรับผู้รับเหมาดังกล่าว เพื่อกํากับดูแลการ ดําเนินงานของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

+++ การจัดให้มี จป.ระดับบริหาร , ระดับหัวหน้างาน , ระดับเทคนิค(ลูกจ้าง 20-49)/เทคนิคขั้นสูง (ลูกจ้าง 50-99) /วิชาชีพ (ลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป)…(ตามจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ)

2.4 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
http://www.oshthai.org/images/PDF/2014/10/osh-act.b.e.2554.pdf
มาตรา 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิต ใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้ง ให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน
มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ

มาตรา 34 ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทํางาน ให้นายจ้างดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) กรณีที่ลูกจ้างเสีย ชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต
การแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนดและเมื่อพนักงานตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ดําเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/125/82.PDF ประกาศกรมฯ กำหนดแบบแจ้งการประสบอันตราย (สปร.๕)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบและวิธีการแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน และการส่งสำเนาหนังสือแจ้งการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/224/12.PDF
3.ความรู้เพิ่มเติม : เพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมิน/ชี้บ่งอันตราย >>>ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
http://www.bangpoosociety.com/forum/index.php?action=dlattach;topic=1010.0;attach=5803
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA)
โดย ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
สำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงาน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรือ่ง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดําเนินงาน
http://www.diw.go.th/hawk/law/safety/ind16.pdf การประเมินความเสี่ยง

หลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
http://www.diw.go.th/hawk/law/safety/regulation4.pdf
4. วัตถุประสงค์การนำเสนอกรณีการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้
4.1 เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ประกอบข้อกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขอให้ท่านนำไปทบทวนและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติตามกฏหมายฯ และคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
4.2 เพื่อนำไปใช้ในการพูดคุย สื่อสาร/ประชุมด้านความปลอดภัยฯ กับลูกจ้าง และทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืนต่อไป
ุบัติเหตุป้องกันได้ โดยการปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงาน

ชิษณุภรณ์ บุรีคำ
นักวิชาการแรงงานชำนาญการ
ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 (ลำปาง)
กองความปลอดภัยแรงงาน
17 พฤศจิกายน 2559

29
ต้องขอบอาจารย์ อาจารย์ วีรพัชร์ วีรพัชน์ เปล่งศรีสกุล จป ฝนและผู้บริหาร บริษัท ฯ ที่ให้โอกาสไปเผยแพร่่ ความรู้ด้าน 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต ที่บริษัท ฮีันซ่า สตีล เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอมตะ เพรส 6 ชลบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2559

30
สวัสดีครับ

       ต้องขอขอบคุุณ คุณกนกพร HR และผู้บริหาร  บริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการที่ให้โอกาสไป Safety Talk ความปลอดภัยในการทำงาน  สถานที่ทำงานปลอดภัยอย่างยั่งยืน ในงาน Golbal Safety Day 2016  ด้วยบรรยายกาศสบาย ๆ  รอยยิ้มทุกรอยยิ้ม คือ กำลังใจ ครับ

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 76