ผู้เขียน หัวข้อ: การวางแผนฉุกเฉินและปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้  (อ่าน 1274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
การวางแผนฉุกเฉินและปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้

การวางแผนฉุกเฉินและปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เป็นวิธีการที่จะควบคุมภาวะ ฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้ เพื่อจะลดอันตราย ช่วยชีวิตและทรัพย์สิน จึงต้องมีวิธีการวางแผนเพื่อให้ผู้ ทำงาน และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยดำเนินการ ดังนี้
การวางแผนฉุกเฉินและปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้

บททั่วไปแผนฉุกเฉินโดยกำหนดความสำคัญ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการควบคุมอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นควรทำแผนฉุกเฉิน ดังนี้
1. กำหนดเครื่องหมายรหัส หรือสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การสื่อสาร การกำหนดนี้ก็เพื่อติดต่อระหว่างฝ่ายต่าง ๆ กับศูนย์สัญญาณแจ้งข่าวเพลิงไหม้ของสถานประกอบกิจการ และจากศูนย์สัญญาณไปยังศูนย์รวมข่าวของหน่วยดับเพลิงท้องถิ่น รหัสที่ใช้ในการแจ้งควรเป็นรหัสที่ทุกคนเข้าใจความหมาย ดังตัวอย่างรหัสในสถานประกอบกิจการที่ทุกคนควรทราบดังนี้ คือ
1) ไฟไหม้ขนาดเล็ก รหัสปฏิบัติการสีเขียว
2) ไฟไหม้ขนาดกลาง รหัสปฏิบัติการสีเหลือง
3) ไฟไหม้ขนาดใหญ่ รหัสปฏิบัติการสีแดง
4) สถานการณ์เพลิงสงบหรือดับแล้ว รหัสปฏิบัติการสวัสดี
การแจ้งเหตุ ต้องบอกสถานที่เกิดเหตุ ขนาดของเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ผู้แจ้ง และเวลาที่เกิดเหตุ
2. กำหนดเครื่องหมายที่ติดอุปกรณ์ราคาแพงหรือเอกสารสำคัญ เช่น อุปกรณ์ที่ติดสีแดงหมายถึง วัตถุไวไฟ อุปกรณ์มีราคาแพงเอกสารสำคัญ อุปกรณ์ที่ติดสีเหลืองเป็นอุปกรณ์ราคารองลงมา ยารักษาโรค หรือวัตถุในกระบวนการผลิต อุปกรณ์ที่ติดสีเขียว หมายถึง โต๊ะ เตียง ตู้ ฯลฯ
3. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลก่อนเกิดเพลิงไหม้ โดยต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในสถานประกอบการไว้ในแผน ดังนี้
3.1. หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้ารักษาความปลอดภัย มีหน้าที่และความรับผิดชอบ คือ
1) ต้องรู้และรับผิดชอบกับแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้
2) ให้การฝึกอบรม การใช้อุปกรณ์ผจญเพลิงและเครื่องดับเพลิงขั้นต้นให้กับผู้ดูแลอาคาร (คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัย)
3) รับผิดชอบในการใช้อุปกรณ์ผจญเพลิงและเครื่องดับเพลิงเคมี พร้อมทั้งสัญญาณต่าง ๆ
4) จัดให้มีการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย การฝึกอบรมและการฝึกหนีไฟ
5) รับผิดชอบในการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ตามแผนฉุกเฉินที่เกิดเพลิงไหม้
6) จัดสาธิตและทบทวนความพร้อมเพรียงในการดับเพลิงพร้อมทั้งสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้กับบุคคลในแผนฉุกเฉินนั้น
7) ต้องมั่นใจว่าผู้อยู่ในอาคารได้เรียนรู้ถึงแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้จนสามารถ ปฏิบัติการได้ เมื่อเกิดเพลิงไหม้
3.2. ผู้ดูแลอาคาร (คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัย)
1) ต้องเข้าใจแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นอย่างดี
2) รู้สถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและเครื่องดับเพลิงขั้นต้น พร้อมทั้งที่ตั้งสัญญาณไฟไหม้ทางออกฉุกเฉิน รวมทั้งจุดอันตรายในสถานที่ประกอบการ
3) ต้องเข้าใจระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นอย่างดี
4) รู้จักวิธีการดับเพลิงและการดับเพลิงขั้นต้น
5) ติดต่อและให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลอาคารอื่น ๆ ด้วย
4. การกำหนดหน้าที่ของบุคคลเมื่อเกิดเพลิงไหม้
กำหนดหน้าที่ของบุคคลเมื่อเกิดเพลิงไหม้ไว้ในแผนดังนี้ คือ
4.1 ผู้พบเห็นเพลิงไหม้ จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
1) ไปที่สัญญาณแจ้งไฟไหม้ที่ใกล้ที่สุด
2) พยายามดับไฟที่เริ่มไหม้ ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะสามารถหาได้โดยไม่ต้องเสี่ยงอันตราย
4.2 บุคคลที่อยู่ในสภาพที่เกิดเพลิงไหม้1) เมื่อได้รับสัญญาณเพลิงไหม้ให้รีบเก็บเอกสารที่สำคัญ และของมีค่าหรือเตรียมการย้ายบุคคลที่ไม่สามารถจะช่วยตัวเองได้ แล้วรีบไปขอคำแนะนำจากผู้ดูแลอาคารหรือหัวหน้าผู้ควบคุมสถานที่เกิดเหตุ บุคคลที่อยู่ในสถานที่เกิดเหตุถ้าผู้ควบคุมยังไม่ได้สั่งให้โทรศัพท์ติดต่อกับใครแล้วอย่าใช้โทรศัพท์
2) ถ้าไม่สามารถดับไฟได้ ควรปฏิบัติการก่อนหนีไฟ เช่นปิดประตูหน้าต่างทุก ๆ บานของสถานที่เกิดเพลิงไหม้ ถ้าสามารถทำได้แล้วจึงรีบหนีตามทางออกฉุกเฉินหรือทางบันไดหนีไฟที่ใกล้ที่สุด ห้ามหนีลงทางลิฟต์ของอาคาร
3) ถ้าการหนีไฟจะต้องผ่านชั้นของอาคารที่ผู้ควบคุมได้ประกาศไว้แล้วว่าได้เกิดเพลิงไหม้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงชั้นดังกล่าวโดยใช้บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉิน
4) เมื่อออกมานอกอาคารแล้วควรรอเป็นกลุ่มในบริเวณที่กำหนดว่าเป็นเขตที่ปลอดภัย
5) ห้ามกลับเข้าไปในอาคารเด็ดขาด ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
6) ผู้ดูแลอาคารหรือผู้ควบคุมในชั้นที่เกิดเหตุต้องนำรายชื่อของบุคคลในสถานที่เกิดเหตุให้พร้อมเสมอที่จะแจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
4.3 หัวหน้ารักษาความปลอดภัย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
1) ทำหน้าที่อำนวยการดับเพลิง หรือสั่งการดับเพลิง
2) ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากหน่วยดับเพลิงภายนอก โดยรายงานเหตุที่เกิดเพลิงไหม้แจ้งจำนวนผู้ประสบภัยหรือจำนวนผู้หนีไฟของแต่ละหน่วยหรือแต่ละชั้นของอาคารนั้น ๆ
3) ให้คำแนะนำผู้ดูแลทรัพย์สินในเรื่องของการดับเพลิง การเคลื่อนย้ายบุคคล เอกสาร มีค่าต่าง ๆ
4) ให้คำแนะนำผู้หนีภัย และบุคคลที่ทำหน้าที่ดับเพลิง
4.4 ผู้ดูแลอาคาร ซึ่งเป็นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ควบคุมในส่วนต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลชั้นต่าง ๆ ของอาคาร เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้
1) ทันทีที่ได้ยินเสียงสัญญาณไฟไหม้ ผู้ดูแลอาคารทุกคนต้องค้นหาตำแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้จากตู้สัญญาณของเครื่องควบคุมว่าเกิดจุดไหน เมื่อแน่ใจว่าเป็นสัญญาณเพลิงไหม้ในชั้นหรือส่วนที่ตนควบคุมอยู่ให้รายงานเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยบอกชื่อผู้แจ้งหรือผู้ควบคุมในชั้นอาคารที่เกิดเหตุและบอกประเภทของไฟและจุดที่เกิดเพลิงไหม้
2) ให้คำแนะนำในการใช้เครื่องดับเพลิงในการดับเพลิงขั้นต้น
3) ให้คำแนะนำในการหนีไฟโดยหาทางใกล้ที่สุดตรวจตราห้องหรือบริเวณต่าง ๆ ที่ตน รับผิดชอบให้ละเอียดจนแน่ใจว่าไม่มีใครหลงเหลืออยู่
4) ขณะหนีไฟอย่าตื่นตระหนกหรือกลัวจนเกินไป ควรจะลงบันไดหนีไฟที่ใกล้ที่สุด
5) ควบคุมอย่าให้ใครกลับไปเก็บสิ่งของส่วนตัวอีก
6) ควบคุมอย่าให้ใครเข้าไปในห้องหรือชั้นของอาคารเว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้ควบคุมเพลิงไหม้ได้อนุญาตแล้ว
7) ควบคุมอย่าให้ใครใช้ลิฟต์ในการหนีไฟ
8) เมื่อหนีไฟออกมาแล้ว ให้ควบคุมให้อยู่เป็นกลุ่มในเขตปลอดภัย โดยให้เป็นระเบียบ พร้อมที่จะให้คำแนะนำต่าง ๆ ได้ ต้องเก็บบัญชีผู้ปฏิบัติงานหรือรายชื่อผู้ที่อยู่ในความควบคุมพร้อมที่จะตรวจตราได้เสมอ
4.5 คณะกรรมการรักษาความปลอดภัย เป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ
1) เมื่อได้ยินสัญญาณเพลิงไหม้ คณะกรรมการรักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ค้นหาบริเวณหรืออาคารที่เกิดเหตุในที่ควบคุมสัญญาณ เมื่อทราบแล้ว ตรวจสอบรายละเอียดจาก ผู้ดูแลแต่ละชั้นของอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ แล้วให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้หน่วยดับเพลิงภายนอกได้ทราบโดยบอกชื่อผู้แจ้ง สถานที่เกิดเหตุ ลักษณะของไฟที่กำลังลุกไหม้ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้แจ้ง
2) ให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์รายงานแจ้งเหตุถือหูโทรศัพท์ไว้จนกว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงภายนอกจะได้ทบทวนรายละเอียดเป็นที่แน่ชัดเสียก่อน
3) คณะกรรมการรักษาความปลอดภัยต้องติดต่อกับกองอำนวยการที่ตั้งขึ้นในเมื่อเกิด เพลิงไหม้เพื่อฟังคำสั่งจากหัวหน้ารักษาความปลอดภัยหรือผู้ดูแลทรัพย์สิน
4)ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตรวจตราทางเข้า-ออกของอาคาร และจัดยาม รักษาการณ์ทางเข้าและทางออกของบริเวณเพลิงไหม้ อาคารนั้น ๆ
5) เป็นผู้ให้คำแนะนำสถานที่ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่หน่วยดับเพลิงจากภายนอก

4.6 เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ ทันทีที่ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงเหตุการณ์ของเพลิงไหม้แก่ผู้เกี่ยวข้องในแผนฉุกเฉิน ดังนี้
1) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของอาคารนั้น ๆ
2) ผู้ดูแลทรัพย์สิน
3) หัวหน้ารักษาความปลอดภัย

4.7 ผู้ดูแลทรัพย์สิน คือผู้อำนวยการของสถานที่นั้น ๆ เมื่อเกิดเพลิงไหม้มีหน้าที่ดังนี้ คือ
1) สั่งให้ติดต่อกับบุคคลที่อยู่ในแผนฉุกเฉินในอาคารเพื่อสั่งการให้ดับเพลิง ตัดสินใจหยุดการทำงานเรียกบุคคลต่าง ๆ มาช่วยเหลือในการดับเพลิง และร่วมในการอำนวยการดับเพลิงกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากหน่วยงานภายนอก
2) สั่งให้รื้อ พังทลาย เพื่อสกัดกั้นเพลิงไหม้
3) รวบรวมรายชื่อของบุคคลที่อยู่ในสถานที่เกิดเพลิงไหม้ทั้งหมด เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจากหน่วยงานภายนอก
3.2 ข้อปฏิบัติการโดยทั่วไปเมื่อเกิดเพลิงไหม้
ควรดำเนินการดังนี้
3.2.1 ตั้งสติให้ดี ควบคุมอารมณ์จิตใจให้สงบและมั่นคง นึกทบทวนขั้นตอนในการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่ได้เคยฝึกซ้อมมาแล้ว และปฏิบัติตามขั้นตอนในการปฏิบัติต่อไป
3.2.2 แจ้งหัวหน้าที่ฝ่าย รับผิดชอบในฝ่ายนั้น ๆ
3.2.3 พิจารณาประเภทของเพลิง ที่ลุกไหม้ว่าเป็นเพลิงประเภทใด แล้วนำเครื่องดับเพลิงมาใช้ให้ ถูกต้องกับประเภทของไฟ
3.2.4 ถ้าไฟไหม้เกิดจากกระแสไฟฟ้า หรืออยู่ใกล้กระแสไฟฟ้าให้ยกสะพานไฟ หรือตัดสวิตช์ไฟ หรือยกสวิตช์ไฟตัดตอนไฟ เฉพาะสถานที่ที่ใกล้สถานที่เกิดเหตุ
3.2.5 แจ้งศูนย์ข่าว ของสถานประกอบกิจการ ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงท้องถิ่นทันทีด้วย เพื่อติดต่อประสานงานในกรณีที่ต้องการซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของไฟไหม้
3.2.6 แจ้งให้ศูนย์ยามรักษาการณ์ หรือหน่วยดับเพลิงของสถานที่ประกอบกิจการเพื่อจัดให้เจ้าหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยและรอเจ้าหน้าที่จากดับเพลิงท้องถิ่นมาถึง จะได้บอกจุดที่เกิดเพลิงไหม้ และอันตรายที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะได้ปฏิบัติการผจญเพลิงได้อย่างถูกต้อง
3.2.7 บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ในสถานที่เกิดเหตุ ต้องควบคุมการตื่นตกใจ และให้ออกจากอาคารที่เกิดเหตุให้มาอยู่ ณ ที่ที่มีความปลอดภัย โดยใช้ทางออกที่ใกล้ที่สุดและไม่กีดขวางการปฏิบัติในการดับเพลิง และการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
3.2.8 เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ที่ติดสีแดงเป็นอันดับ 1 สีเหลืองเป็นอันดับที่ 2 ที่ติดสีเขียวเป็นอันดับ 3 หรือถ้าไม่มีเวลา หรือไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเคลื่อนย้าย
3.2.9 จัดเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับผู้ที่มาช่วยเหลือจากหน่วยอื่น ๆ คือ
1) บอกเหตุที่เกิดและสถานที่เกิด
2) ผู้ประสบภัยที่ต้องเคลื่อนย้าย
3) อุปกรณ์ที่ต้องเคลื่อนย้าย

ข้อปฏิบัติเมื่อไฟเกิดติดต่อลุกลามควบคุมไม่ได้ คือ

1. ตั้งสติให้ดี ควบคุมอารมณ์ให้สงบ พิจารณาให้รอบคอบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
2. เคลื่อนย้ายผู้ที่ช่วยตนเองไม่ได้ หรือผู้ที่เจ็บป่วย หรือผู้บาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว ควรพิจารณาในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ ผู้ใกล้ไฟต้องรีบย้ายก่อน
3. เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ของมีค่า และเอกสารสำคัญ
อุปกรณ์ติดสีแดง เคลื่อนย้ายเป็นอันดับแรก
อุปกรณ์ติดสีเหลือง เคลื่อนย้ายเป็นอันดับที่ 2
อุปกรณ์ติดสีเขียว เคลื่อนย้ายเมื่อมีเวลาเหลือพอ
4. ตรวจสอบผู้บาดเจ็บ เมื่อเคลื่อนย้ายไปสู่จุดที่ปลอดภัยว่าครบตามจำนวนหรือไม่
5. ตรวจสอบทรัพย์สิน เมื่อถึงจุดปลอดภัยทันที จัดเจ้าหน้าที่ดูแล และระมัดระวังผู้ฉวยโอกาสขโมยสิ่งของที่เคลื่อนย้ายออกมาโดยทันที
6. ทำการตัดสะพานไฟฟ้าทันที
7. ปิดประตูหน้าต่าง ให้มากที่สุดเท่าที่จะมีเวลาพอจะทำได้
8. ประสานงานกับศูนย์อำนวยการ ของสถานที่ประกอบกิจการ ที่ตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่อระงับ เหตุการณ์และสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการดับเพลิง และการเคลื่อนย้าย

ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ข้างเคียงสถานที่ประกอบการ ควรมีการปฏิบัติดังนี้
1. ผู้พบเหตุการณ์ต้องรีบรายงาน หัวหน้าฝ่ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยทันที
2. หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้าเวรยาม จะต้องสั่งการปฏิบัติดังนี้
1) แจ้งให้ผู้ร่วมงานได้ทราบทันที เพื่อรับสถานการณ์
2) ส่งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของฝ่ายพร้อมอุปกรณ์ไปช่วยดับเพลิง
3) แจ้งศูนย์รวมท่อของสถานที่ประกอบกิจการทันที
4) แจ้งยามรักษาการณ์
5) กำหนดผู้รับข่าวสารเฝ้ารับโทรศัพท์เพื่อจะได้ประสานงานกับศูนย์รวมท่อของสถานที่ประกอบกิจการ ไม่จำเป็นอย่าใช้โทรศัพท์ เพราะทางศูนย์รวมท่อเมื่อต้องการทราบรายละเอียดจะได้ติดต่อได้ทันที
3. เตรียมการผจญเพลิง ที่อาจจะเกิดการติดต่อลุกลามเข้ามายังฝ่ายของคนที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยปฏิบัติดังนี้
1) เตรียมการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ของมีค่า เอกสารสำคัญ ตามลำดับ
2) สำรวจทางเข้า-ออกฉุกเฉิน ต้องใช้การได้
3) ปิดประตูหน้าต่างด้านที่ติดกับอาคารที่เกิดเหตุ
4) ปิดกั้นสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงหรือสิ่งที่ช่วยให้เกิดการลุกไหม้
5) ถ้าจำเป็นก็ตัดกระแสไฟฟ้า
4. ป้องกันมิให้มีการเกิดความสูญเสีย จากการดับเพลิงและการเคลื่อนย้าย
5. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ของสถานประกอบกิจการและเจ้าพนักงานดับเพลิงท้องถิ่น
6. รายงานศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ของสถานประกอบกิจการให้ทราบเรื่องคือ
1) จำนวนบุคคล อุปกรณ์ที่จะต้องเคลื่อนย้าย
2) จำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะดำเนินการดับเพลิงและการเคลื่อนย้ายของฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ
3) ได้เตรียมการอะไรไว้แล้ว
4) ใครดำเนินการอะไรไปบ้างแล้ว

เจ้าหน้าที่เวรยามต้องรีบแจ้งให้ผู้เกี่ยวทราบทันที

ไฟไหม้นอกเวลาทำงานหรือเกิดเพลิงไหม้ในยามวิกาล
1. ผู้ดูแลทรัพย์สิน หรือผู้อำนวยการดับเพลิงของสถานประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เช่น หัวหน้ารักษาความปลอดภัย
2. หัวหน้ารักษา ความปลอดภัย
3. เจ้าหน้าที่ ดับเพลิงท้องถิ่น
แล้วพยายามดับเพลิงโดยไม่เสี่ยงอันตราย โดยพยายามสกัดกั้นอันตราย เพื่อป้องกันการติดต่อลุกลามจนกว่าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงท้องถิ่น หรือผู้ที่มีหน้าที่ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการจะมาช่วยเหลือเพื่อระงับอัคคีภัย และเคลื่อนย้ายอุปกรณ์และของมีค่าเพื่อไม่สามารถดับเพลิงขั้นตํ่าได้ และเกิดการติดต่อลุกลามเป็นไฟรายใหญ่


การฝึกหนีไฟก็เพื่อให้ทุกคนในสถานประกอบกิจการมีความรู้และความเข้าใจในแผนการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และควรมีความรู้ในหลักสูตรการดับเพลิงและการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งผู้ปฏิบัติงานควรมีการฝึกหนีไฟดังนี้

การฝึกหนีไฟ

1. การฝึกหนีไฟ ควรจะให้มีอย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง
2. ทุกคนที่ทำงานอยู่ในอาคาร ต้องได้รับการฝึกเกี่ยวกับการหนีไฟ
3. การฝึกควรแจ้ง ให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงท้องถิ่นมาร่วมในการตรวจสอบ และแนะนำในการฝึกด้วย
4. ประเมินผลการฝึก โดยรวบรวมข้อมูลจากการฝึกเพื่อหาข้อแก้ไขและปรับปรุงให้ถูกต้องต่อไป
5. ต้องฝึกจนผู้ที่ทำงานมีความมั่นใจในการปฏิบัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และผู้ควบคุมการฝึกต้องแน่ใจว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้จริง ๆ แล้ว บุคคลที่อยู่ในแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้ สามารถปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินที่ได้วางไว้ได้


ควรมีข้อความที่สำคัญดังนี้

การทำบัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่ตามแผนฉุกเฉิน
1. ตำแหน่ง …………………… ผู้อำนวยการ หัวหน้ารักษาความปลอดภัย ผู้ดูแลอาคาร (คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัย) ถ้ามีหลายฝ่าย ควรมีตำแหน่งผู้ดูแลแต่ละชั้นของอาคาร คณะกรรมการผู้ช่วยเหลือ (เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ดับเพลิง หรือเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่อพยพ)
2. ชื่อ ………………… ผู้อำนวยการ หัวหน้ารักษาความปลอดภัย คณะกรรมการเพื่อความ ปลอดภัย คณะกรรมการผู้ช่วยเหลือ
3. สถานที่ติดต่อ ที่ทำงาน ที่บ้านของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้
4. โทรศัพท์ ที่ทำงาน ที่บ้าน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้
แผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้ควรจัดทำทุก ๆ ส่วนที่มีคนทำงานและควรรวบรวมทุก ๆ ส่วนเป็นแผน ฉุกเฉินของหน่วยงานหลักของสถานประกอบการ
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 282711
    • ดูรายละเอียด

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 282711
    • ดูรายละเอียด
audiobookkeeper.rucottagenet.rueyesvision.rueyesvisions.comfactoringfee.rufilmzones.rugadwall.rugaffertape.rugageboard.rugagrule.rugallduct.rugalvanometric.rugangforeman.rugangwayplatform.rugarbagechute.rugardeningleave.rugascautery.rugashbucket.rugasreturn.rugatedsweep.rugaugemodel.rugaussianfilter.rugearpitchdiameter.ru
geartreating.rugeneralizedanalysis.rugeneralprovisions.rugeophysicalprobe.rugeriatricnurse.rugetintoaflap.rugetthebounce.ruhabeascorpus.ruhabituate.ruhackedbolt.ruhackworker.ruhadronicannihilation.ruhaemagglutinin.ruhailsquall.ruhairysphere.ruhalforderfringe.ruhalfsiblings.ruhallofresidence.ruhaltstate.ruhandcoding.ruhandportedhead.ruhandradar.ruhandsfreetelephone.ru
hangonpart.ruhaphazardwinding.ruhardalloyteeth.ruhardasiron.ruhardenedconcrete.ruharmonicinteraction.ruhartlaubgoose.ruhatchholddown.ruhaveafinetime.ruhazardousatmosphere.ruheadregulator.ruheartofgold.ruheatageingresistance.ruheatinggas.ruheavydutymetalcutting.rujacketedwall.rujapanesecedar.rujibtypecrane.rujobabandonment.rujobstress.rujogformation.rujointcapsule.rujointsealingmaterial.ru
journallubricator.rujuicecatcher.rujunctionofchannels.rujusticiablehomicide.rujuxtapositiontwin.rukaposidisease.rukeepagoodoffing.rukeepsmthinhand.rukentishglory.rukerbweight.rukerrrotation.rukeymanassurance.rukeyserum.rukickplate.rukillthefattedcalf.rukilowattsecond.rukingweakfish.rukinozones.rukleinbottle.rukneejoint.ruknifesethouse.ruknockonatom.ruknowledgestate.ru
kondoferromagnet.rulabeledgraph.rulaborracket.rulabourearnings.rulabourleasing.rulaburnumtree.rulacingcourse.rulacrimalpoint.rulactogenicfactor.rulacunarycoefficient.ruladletreatediron.rulaggingload.rulaissezaller.rulambdatransition.rulaminatedmaterial.rulammasshoot.rulamphouse.rulancecorporal.rulancingdie.rulandingdoor.rulandmarksensor.rulandreform.rulanduseratio.ru
languagelaboratory.rulargeheart.rulasercalibration.rulaserlens.rulaserpulse.rulaterevent.rulatrinesergeant.rulayabout.ruleadcoating.ruleadingfirm.rulearningcurve.ruleaveword.rumachinesensible.rumagneticequator.rumagnetotelluricfield.rumailinghouse.rumajorconcern.rumammasdarling.rumanagerialstaff.rumanipulatinghand.rumanualchoke.rumedinfobooks.rump3lists.ru
nameresolution.runaphtheneseries.runarrowmouthed.runationalcensus.runaturalfunctor.runavelseed.runeatplaster.runecroticcaries.runegativefibration.runeighbouringrights.ruobjectmodule.ruobservationballoon.ruobstructivepatent.ruoceanmining.ruoctupolephonon.ruofflinesystem.ruoffsetholder.ruolibanumresinoid.ruonesticket.rupackedspheres.rupagingterminal.rupalatinebones.rupalmberry.ru
papercoating.ruparaconvexgroup.ruparasolmonoplane.ruparkingbrake.rupartfamily.rupartialmajorant.ruquadrupleworm.ruqualitybooster.ruquasimoney.ruquenchedspark.ruquodrecuperet.rurabbetledge.ruradialchaser.ruradiationestimator.rurailwaybridge.rurandomcoloration.rurapidgrowth.rurattlesnakemaster.rureachthroughregion.rureadingmagnifier.rurearchain.rurecessioncone.rurecordedassignment.ru
rectifiersubstation.ruredemptionvalue.rureducingflange.rureferenceantigen.ruregeneratedprotein.rureinvestmentplan.rusafedrilling.rusagprofile.rusalestypelease.rusamplinginterval.rusatellitehydrology.ruscarcecommodity.ruscrapermat.ruscrewingunit.ruseawaterpump.rusecondaryblock.rusecularclergy.ruseismicefficiency.ruselectivediffuser.rusemiasphalticflux.rusemifinishmachining.ruspicetrade.ruspysale.ru
stungun.rutacticaldiameter.rutailstockcenter.rutamecurve.rutapecorrection.rutappingchuck.rutaskreasoning.rutechnicalgrade.rutelangiectaticlipoma.rutelescopicdamper.rutemperateclimate.rutemperedmeasure.rutenementbuilding.rutuchkasultramaficrock.ruultraviolettesting.ru

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 282711
    • ดูรายละเอียด