ผู้เขียน หัวข้อ: 6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น  (อ่าน 2781 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น





ขั้นตอนที่ 1: ประเมินความเสี่ยง



               เมื่อสารเคมีหกล้นแล้ว ก็จะต้องทำการยกย้ายอย่างถูกต้องเหมาะสม ความเสี่ยงสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สามารถสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินและแม้แต่ทำให้บริษัทหรือโรงงานของคุณถูกปรับได้ ความปลอดภัยถือเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับแรกของคุณ

               ดังนั้น ขั้นตอนแรกเลย คุณก็จะต้องชี้บ่งถึงสารเคมีที่หกล้นเสียก่อนว่าเป็นสารชนิดใด ขั้นตอนต่อมาก็คือ จะต้องพิจารณาว่าสารนั้นหกล้นในปริมาณมากน้อยเพียงใด


 
ขั้นตอนที่ 2: เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม
               ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเลือกใช้อุปกรณ์ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมนั้นจะช่วยให้คุณปลอดภัยในขณะที่คุณกำลังจัดการกับสารเคมีที่หกล้น

               สำหรับคำแนะนำที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ในสถานการณ์เช่นนี้ก็คือคุณควรศึกษาข้อมูลจากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS) หรือปรึกษากับทางผู้ผลิตอุปกรณ์ คุณจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนเสมอว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงอย่างมากและให้ใช้ระดับการป้องกันอันตรายในระดับที่สูงที่สุด

 

ขั้นตอนที่ 3: กั้นแยกและหยุดแหล่งต้นกำเนิดการหกล้น
               ความเร็ว ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้น คุณสามารถทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นได้โดยการใช้ Boom, Spill Berm หรือ Absorbent Sock ที่จะอยู่ในชุดอุปกรณ์รับเหตุสารเคมีหกล้นส่วนใหญ่

               นอกจากนี้ คุณสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกัน/ฝาครอบปิดรางน้ำหรือที่อุดรางน้ำเพื่อป้องกันมิให้สารปนเปื้อนใดๆ เคลื่อนที่เข้าไปในแหล่งน้ำได้ หลังจากที่คุณได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นแล้ว คุณจะต้องหยุดแหล่งต้นกำเนิดการหกล้นของสารด้วย โดยสำหรับถังบรรจุหรือภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับความเสียหายนั้น จะสามารถปะและอุดได้ง่ายโดยการใช้ชุดอุปกรณ์ซ่อมถังบรรจุ ปูนอุดซ่อมแซม หรือผ้าอุดครอบจักรวาร

               จากนั้น ขั้นตอนสุดท้าย ให้เทสารเคมีที่เหลืออยู่ไปยังภาชนะบรรจุใหม่



ขั้นตอนที่ 4: ประเมินและทำความสะอาด

               ถึงตอนนี้ เมื่อคุณได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกล้นเสร็จแล้ว คุณจะต้องมีแผนการสำหรับการทำความสะอาดสารที่หกล้นและการกำจัดของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น การนำ Absorbent Pad และ Absorbent Pillow มาวางจะสามารถช่วยดูดซับสารที่หกล้นส่วนใหญ่ไว้ได้ ในกรณีที่สารเคมีที่หกล้นมีส่วนประกอบของสารเคมีที่กระด้างมากๆ คุณอาจต้องใช้สารทำละลายหรือสารลดความเป็นกรด/ด่าง

                จากนั้น หลังจากที่คุณได้ทำความสะอาดสารที่หกล้นเสร็จแล้ว ตรวจดูให้แน่ใจว่าคุณได้กำจัดของเสียทั้งหมดอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย

 

ขั้นตอนที่ 5: ทำความสะอาดร่างกายผู้ดำเนินการ
               ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับการล้างและทำให้สารปนเปื้อนสะสมที่เกิดขึ้นมีความเป็นกลางได้อย่างเหมาะสม โดยพื้นที่นี้ควรประกอบด้วยฝักบัวหนึ่งชุดและอ้างล้างตา/ใบหน้าเพื่อทำให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีความปลอดภัย

 ขั้นตอนที่ 6: ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารที่จำเป็น
               นำข้อมูลสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันแก้ไข กรอกลงในรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน กรณีเหตุหกล้นของสารเคมีนั้นทำให้ต้องหยุดการผลิตหรือมีบุคคลได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจะต้องแจ้งกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมตามข้อกฎหมายที่มีกำหนดแนวปฏิบัติและบทลงโทษไว้แล้ว ดังต่อไปนี้

               (1) ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

               “มาตรา 34 (2) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคลในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิดสารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบโดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ”

               โดยบทลงโทษสำหรับเรื่องนี้ มีระบุไว้ใน “มาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 หรือมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท”

               และ (2) ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

               “มาตรา 34 ในกรณีมีอุบัติเหตุในโรงงานเนื่องจากโรงงานหรือเครื่องจักรของโรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีของโรงงานจำพวกใด ถ้าอุบัติเหตุนั้น

               (1) เป็นเหตุให้บุคคลถึงแก่ความตาย เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งภายหลังเจ็ดสิบสองชั่วโมงแล้วยังไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามวันนับแต่วันตาย หรือวันครบกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง แล้วแต่กรณี

               (2) เป็นเหตุให้โรงงานต้องหยุดดำเนินงานเกินกว่าเจ็ดวัน ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสิบวันนับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ

               เมื่อเกิดอุบัติเหตุในโรงงานใดตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจโรงงานและเครื่องจักรและพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 37 หรือมาตรา 39 แล้วแต่กรณี

               โดยบทลงโทษสำหรับเรื่องนี้ มีระบุไว้ใน “มาตรา 54 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท”
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261942
    • ดูรายละเอียด
Re: 6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2023, 11:54:09 PM »

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261942
    • ดูรายละเอียด
Re: 6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2023, 03:39:21 PM »
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтtuchkasсайтсайт

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261942
    • ดูรายละเอียด
Re: 6 ขั้นตอนที่จะต้องทำเมื่อเกิดเหตุสารเคมีหกล้น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 09:26:12 AM »