ผู้เขียน หัวข้อ: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1  (อ่าน 1545 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 02:37:30 PM »
ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 12 ก.ค. 2555
 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม  ตอน 1

       การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อหลายสิบปีก่อนหน้านี้ เน้นที่การจัดการปลายท่อ ซึ่งหมายถึง การสนใจแค่ว่าของเสียที่ถูกปล่อยออกมาจะจัดการได้อย่างไร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประสบการณ์การเรียนรู้จากสภาพปัญหาได้ทำให้วิธีคิดของการจัดการเปลี่ยนมาพิจารณาตั้งแต่ต้นทาง ถ้าต้นทางดูแลได้ดี ปัญหาที่ปลายทางก็จะลดลง และเพื่อจะให้เกิดความยั่งยืน ยังจำเป็นต้องดูทั้งระบบตลอดสายโซ่อุปทานและมองให้ครบทุกมิติของเศรษฐศาสตร์ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อกัน สำหรับการจัดการสารเคมีมีความเป็นไปทำนองเดียวกัน ที่สมัยก่อนให้ความสำคัญกับการผลิตที่ต้นทาง คิดถึงแต่ความเสี่ยงจากกระบวนการผลิตไปสู่ อากาศ น้ำ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในความเป็นจริงการปลดปล่อยสารพิษเกิดขึ้นระหว่างการใช้และการทิ้งด้วย เช่น ตะกั่วในของเล่นและเครื่องประดับ หรือ สาร PFC (Perfluorinated compound) ในสิ่งทอ ซึ่งใช้ในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อเป็นวัสดุกันน้ำ โดยสารตัวนี้คงทน จึงสะสมได้ในระบบชีวภาพ หรือสาร DEHP (Diethylhexyl phthalate) ที่ใช้เป็น plasticizer ในการผลิตพลาสติก PVC จะหลุดออกมาระหว่างการใช้ ตัวอย่างของสารเคมีในผลิตภัณฑ์เช่นนี้มีอีกมากมาย นอกจากนั้น สารเคมีที่ผลิตออกมาสู่ตลาด ก็ไม่แน่ว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับอันตรายเพียงพอเพียงใด  เพราะเมื่อการศึกษายังไม่ครบถ้วน อาจมีการมาพบที่หลังว่าเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว การส่งต่อสารอันตรายจึงกระจายไปได้ทั่วโลกโดยผ่านตัวสินค้าที่ค้าขายกัน
       
       สภาพปัญหาจึงเป็นประเด็นสากลเพื่อลดความเสี่ยง มาตรการระดับอนุสัญญาสหประชาชาติมีออกมาหลายฉบับ เช่น อนุสัญญารอตเตอร์ดัมเพื่อให้มีการแจ้งขออนุญาตก่อน (Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade, PIC) หรือ อนุสัญญาสตอกโฮล์มเกี่ยวกับสารตกค้าง (Protocols on Heavy Metal and Persistent Organic Pollutants, POPs) แนวคิดของการจัดการสารเคมีในกระแสโลกจึงหันมาให้ความสำคัญกับหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precautionary approach) เพราะการจัดการแบบเดิมไม่สามารถให้ความมั่นใจต่อความปลอดภัยของสังคมได้ มาตรการหรือกฎหมายของประเทศต่างๆได้ถูกปรับเปลี่ยนเกือบจะเรียกว่า โละทิ้งกฎหมายเก่า เพื่อให้เกิดการจัดการเชิงรุกมากกว่าการล้อมคอก ในปี ค.ศ. 2008 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงกฎหมาย Consumer Product Safety ที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1973 โดยยกเครื่องกฎระเบียบให้ผู้บริโภคสบายใจได้ว่าสินค้าที่อยู่บนหิ้งในร้านมีความปลอดภัย เช่น มีการห้ามใช้ตะกั่วในของเล่นเด็ก กำหนดมาตรฐานใหม่ของสารหลายชนิดในผลิตภัณฑ์ ประเทศแคนาดาได้ประกาศใช้กฎหมายทำนองเดียวกันเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 สำหรับประชาคมยุโรปได้ออกระเบียบ REACH ในปี ค.ศ. 2007 (Registration, Evaluation, Authorisation and Restriction of Chemicals) เพื่อจัดระบบใหม่ให้มีมาตรการที่ทำให้มีข้อมูลสารเคมีทุกชนิดเข้าสู่ระบบ โดยให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบในข้อมูลการประเมินความเสี่ยงทั้งหลาย และข้อมูลความปลอดภัยเหล่านี้จะต้องถูกส่งต่อตลอดห่วงโซ่อุปทาน แม้ว่าจะเป็นมาตรการใช้กับภาคีสมาชิก แต่เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าขายโดยปริยาย ประเทศคู่ค้าทั้งหลายจึงถูกกระทบไปด้วย ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศผู้ผลิตก็มีความเคลื่อนไหวในทางที่ดีขึ้น นอกจากจะปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว บางแห่งมีมาตรการเพิ่มขึ้นตามความสมัครใจ ภาคธุรกิจเริ่มขยับตัวซึ่งเห็นได้จากการที่ Wal-Mart ได้ตกลงกับสมาคมการค้า ผู้จัดจำหน่าย (supplier) และบริษัทจัดการข้อมูล เพื่อสร้างระบบการจัดการข้อมูล โดยเน้นที่ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณสารเคมีสูงและกระจายกว้างขวางในตลาด เช่น ผลิตภัณฑ์ซักล้าง คำว่า “สารเคมีในผลิตภัณฑ์ (Chemicals in Products, CiPs)” จึงเริ่มพูดกันมากขึ้น มีเว็บไซต์หลายแห่งที่เปิดให้บริการ เพื่อผู้บริโภคจะทราบได้ว่าส่วนประกอบทางเคมีในผลิตภัณฑ์คืออะไร วิธีใช้อย่างปลอดภัยคืออะไร ความเคลื่อนไหวได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคการเงินเช่นกัน ธนาคาร HSBC ได้กำหนดนโยบายสารเคมีขึ้นในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคและสารเคมี เพราะในความเป็นจริงประเด็นนี้เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อธุรกิจ และต่อภาพพจน์ขององค์กร บนเวทีขององค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP) ในโปรแกรม SAICM (Strategic Approach to International Chemical Management) ก็ใช้ประเด็น CiPs เป็นตัวขับเคลื่อน
           
         จะเห็นได้ว่า การจัดการสารเคมีต้องทำเชิงรุก ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การคาดการณ์เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ และองค์ประกอบสำคัญในการจัดการเชิงรุกนั้นอยู่ที่ตัวข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสารเคมี ที่สามารถประเมินความเสี่ยงได้ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลดังกล่าวจึงมีความสำคัญในด้านต่างๆ โดยภาพรวมจะเป็นการสนับสนุนประสิทธิผลของนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  เกิดการจัดการความปลอดภัยได้ตลอดสายโซ่อุปทาน และยังส่งผลให้มีการใช้สารทดแทนที่ปลอดภัยกว่าด้วย ความจำเป็นของข้อมูลสารเคมีสำหรับภาคการผลิตนั้น ทำให้เกิดการตัดสินใจอย่างปลอดภัย ณ จุดต่างๆ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การขนส่ง ตลอดจนถึงการกำจัด อีกทั้งยังแสดงความโปร่งใสในทุกขั้นตอน ลดค่าใช้จ่าย และค่าเสียหาย ในกรณีที่ต้องมีการเรียกคืนสินค้าก็สามารถทำได้รวดเร็ว สำหรับการส่งออก ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะประเทศนำเข้าหลายแห่งกำหนดเป็นเงื่อนไขของการค้าระหว่างกัน ในมุมมองของผู้บริโภค ข้อมูลที่เปิดเผยย่อมสร้างทางเลือกและความมั่นใจในสินค้าเป็นอย่างดี
     
      การสื่อสารข้อมูลเพื่อผู้บริโภคในบางประเทศที่จัดได้ว่า มีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเข้มแข็ง และผู้บริโภคเองรู้จักใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้น ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลที่เปิดเป็นเว็บไซต์ให้ประชาชนเข้าถึงได้ เพื่อศึกษาหาทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์  มีการจัดอันดับสินค้าชนิดเดียวกันให้เปรียบเทียบตามคะแนน โดยเปิดเผยเกณฑ์การให้คะแนนอย่างชัดเจน ที่ให้น้ำหนักกับความโปร่งใสของข้อมูล การจัดการสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและผลกระทบ ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของ US Department of Health and Human Services (Household Product Database) ได้นำข้อมูลของผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 ยี่ห้อ มาโยงกับข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ของผู้ผลิต เพื่อตอบได้ว่า ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้น มีองค์ประกอบทางเคมีอะไร เท่าใด ใครคือผู้ผลิต ติดต่อที่ไหน ฐานข้อมูลหรือเว็บไซต์เหล่านี้ เกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยเฉพาะผู้ผลิตซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล มาตรการสมัครใจที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น อาจจะริเริ่มโดยบริษัทผู้ผลิต เพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง แต่การส่งต่อข้อมูลก็เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการจัดการความปลอดภัยทางเคมีตลอดสายโซ่อุปทาน และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคด้วย
           
           หากประเทศไทยจะมีการจัดทำรายการสารเคมีในผลิตภัณฑ์ (CiPs) ข้อมูลพื้นฐานนี้น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการสารเคมีเชิงรุกได้ มาตรการภาครัฐสามารถดำเนินการภายใต้หลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักของสิทธิการรับรู้ เพื่อให้ภาพรวมและการเคลื่อนไหวของสารเคมีปรากฏชัดขึ้น เพียงพอต่อการกำหนดนโยบายหรือมาตรการได้อย่างถูกทิศทาง และเป็นธรรมต่อผู้บริโภครวมทั้งสังคมในภาพกว้าง เมื่อตั้งต้นจากการมีข้อมูลพื้นฐานแล้ว เรื่องของความปลอดภัยด้วยการส่งต่อข้อมูลตลอดสายโซ่อุปทาน การมีเทคนิคการสื่อสาร การสร้างความตระหนักรู้ ย่อมทำได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงเรื่องของการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มว่า จะไปในทิศทางที่เน้นเรื่องความปลอดภัยของสินค้าต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเข้มข้นขึ้นทุกที
           
      เมื่อเห็นว่า ข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์จำเป็นอย่างไรแล้ว จะทำให้เกิดข้อมูลพื้นฐานนี้ได้อย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
 
                                                                                                                                                 มิถุนายน 2555
 
อ้างถึง บทความ “การจัดการสารเคมีในกระแสโลก : ประเทศไทยอยู่ตรงไหน” โดย รศ. สุชาตา ชินะจิตร จาก เคมีทรรศนะเชิงนโยบาย ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี (9 ส.ค. 2553)
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 02:39:31 PM »
สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 2
ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
วันที่: 31 ก.ค. 2555
 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม  ตอน 2
           จากบทความตอนที่ 1 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ที่เผยแพร่ไปแล้วในการจัดเวทีสาธารณะ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 และเผยแพร่ใน www.chemtrack.org หัวข้อนโยบายสาธารณะ ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ว่า สารเคมีนั้นมีส่วนคุกคามต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมแต่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยถ้ารู้ ข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์ (CiPs, Chemicals in Products) จึงช่วยแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นทาง เป็นเหตุให้มีการคิดถึงการใช้สารทดแทน ช่วยให้เกิดการใช้อย่างปลอดภัยระหว่างการใช้ผลิตภัณฑ์หรือการกำจัดปลายทาง บทความนี้จึงเป็นส่วนขยายความในรายละเอียดบางประเด็น เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่า สารอันตรายในผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นมีโอกาสพบเห็นหรือสัมผัสได้อย่างไร
กลุ่มของเล่น

            สารอันตรายในของเล่นนั้นมี 2 ชนิดที่เป็นปัญหามาก คือ ตะกั่ว และพาทาเลต (phthalates) ของเล่นเด็กอาจมีตะกั่วอยู่ในสีหรือดินสอสี และส่วนที่เป็นโลหะ เช่น คลิป สายสร้อย เครื่องประดับตุ้งติ้ง บางกรณีถูกใช้เป็น stabilize ในพลาสติกจำพวก PVC ที่นำมาทำเป็นของเล่น อันตรายของตะกั่วมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ถ้าเด็กได้รับสารตะกั่ว เช่น หยิบสีที่หลุดร่อนออกมาใส่ปากหรือเคี้ยวสีแท่งที่มีตะกั่ว ก็เกิดพิษเฉียบพลัน การสะสมทีละเล็กละน้อยเป็นเวลานานจะเกิดพิษแบบเรื้อรัง เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อทารก เด็กเล็ก หรือพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์  อันเนื่องมาจากระบบประสาทถูกกระทบอย่างถาวร นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อไต และความดันโลหิตด้วย ความจริงเรื่องอันตรายของตะกั่วและสารประกอบตะกั่วในของเล่นเป็นที่รับรู้ และตระหนักรู้มานานแล้ว แต่ในประเทศกำลังพัฒนา ยังคงเป็นปัญหาอยู่ เพราะตะกั่วเป็นวัตถุดิบราคาถูก ผู้ออกแบบอาจไม่ได้จงใจให้ใช้ตะกั่ว แต่เมื่อไม่มีการกำหนดชัดเจน จึงมีการใช้ตะกั่วในของเล่นและเครื่องประดับอย่างแพร่หลาย ในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งมีกฎระเบียบดูแลความปลอดภัยของของเล่น เช่น US Consumer Product Safety Improvement Act ที่กำหนดระดับตะกั่วในของเล่นให้น้อยลง และให้มีฉลากของผู้ผลิตรวมทั้งต้องมีคำเตือนในโฆษณาด้วย ส่วนของประเทศคานาดามี Hazardous Product Act and Children’s Jewelry Act หรือในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่นได้ใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน ISO 8124 Toy Safety Standard เคยมีเหตุการณ์การเสียชีวิตของเด็กในสหรัฐอเมริกา ที่กลืนชิ้นส่วนเครื่องประดับของเล่น จนเกิดแรงกดดันให้มีการเรียกคืนของเล่นและเครื่องประดับเด็กยอดนิยมถึง 1.7 ล้านชิ้นในปี 2007
            ส่วน phthalate นั้นใช้เป็น plasticizer ในพลาสติกพวก PVC ซึ่งทำให้พลาสติกอ่อนตัว หักงอได้ ซึ่งอาจถูกปลดปล่อยออกมาจากของเล่นระหว่างการใช้ได้ อันตรายของสารชนิดนี้คือ ผลที่มีต่อพัฒนาการตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง

กลุ่มสิ่งทอ

            ในเสื้อผ้าหรือสิ่งทอ มักมีสารกลุ่ม Perfluorinate (PFC) เพื่อทำให้วัสดุนั้นๆ กันเปื้อนกันเปียกได้ นอกจากจะมีการใช้ PFC ในเสื้อผ้า วัสดุที่ใช้ทำรองเท้า เต็นท์ ผ้าปูโต๊ะแล้ว PFC ยังเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีก  เช่น โฟมดับไฟ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ซักล้าง เป็นต้น สาร PFC เป็นสารย่อยสลายยากจึงตกค้างและเกิดการสะสมยาวนานในสิ่งแวดล้อมลงไปถึงน้ำใต้ดิน  มีการพบ PFC ในเลือดทั้งของคนและสัตว์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม แม้แต่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากการผลิตหรือการใช้อย่างที่ขั้วโลก Canadian Arctic สาร PFC ที่ไม่ถูกยึดติดบนวัสดุจะหลุดออกมาได้ระหว่างการใช้ การซัก การทิ้ง การสะสมสารชนิดนี้ในเลือดมีผลต่อตับ ต่อระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ทดลอง ยังมีหลักฐานเชื่อมโยงได้ว่าในปี ค.ศ.1980 ระดับ PFCO (สารอนุพันธ์ของ PFC)  0.1-8.13 ppm) ที่พบในเลือดของคนงานจากโรงงานผลิต PVC ทำให้คนงานมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และระดับคอเลสเตอรอลสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา คานาดา และสหภาพยุโรปได้ริเริ่มมาตรการควบคุม PFC โดยมีการห้ามใช้สารบางตัวในกลุ่มนี้ในการผลิต การขาย และการนำเข้า สหภาพยุโรปเริ่มห้ามใช้ PFCO ในสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ในปี ค.ศ.2007 หลังจากการมีมาตรการควบคุมต่างๆ ในประเทศเหล่านี้ ระดับ PFC ในเลือดของคนและสัตว์ ก็ดูเหมือนจะลดลงจากเดิม ในขณะที่ ระดับ PFC สูงขึ้นในตัวอย่างเลือดจากประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่ยังดำเนินการผลิตสารดังกล่าวอยู่
            ยังมีสารอันตรายอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสิ่งทอ นั่นคือ NPE (Nonylphenol ethoxylates) เป็นสารลดแรงตึงผิวใช้ในการผลิตสิ่งทอ และในผลิตภัณฑ์ซักล้าง เนื่องจาก NPE เป็นสารย่อยสลายยาก จึงสะสมได้ในระยะยาวก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของสิ่งทอ NPE เป็นสารยับยั้งการทำงานของระบบเอนโดรไครน์ (endocrine disrupter) การที่มีการพบ NPE ในสิ่งแวดล้อมกระจายทั่วโลก ชี้ให้เห็นว่าการใช้สารนี้ในกระบวนการผลิตในซีกโลกหนึ่ง สารดังกล่าวยังคงตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายระหว่างการใช้ การซักล้าง การทิ้ง สู่สิ่งแวดล้อมในอีกซีกโลกหนึ่งได้
กลุ่มยานยนต์

            สารประกอบของปรอทที่เป็นพิษสูง คือ เมทิลเมอร์คิวรี (Methylmercury) ซึ่งแปรสภาพมาจากปรอทที่ใช้ในสวิตช์ ต่างๆ ของยานยนต์  เมื่อเมทิลเมอร์คิวรี ลงสู่น้ำและสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร คนจึงอาจได้รับสารนี้จากการกินปลาที่อยู่ในน้ำซึ่งมีสารชนิดนี้สะสมอยู่ เหตุเดียวกับที่เกิดเป็นโรคมินามาตะ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท ปรอทจากสวิตช์จะหลุดรอดออกมาเมื่อรถยนต์เก่าถูกทำลาย สารอีกกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ก็คือ PAHs (Polycyclic aromatic hydrocarbons) ซึ่งเติมเข้าไปในยางรถยนต์ เพื่อทำให้ยางอ่อนตัว ปลดปล่อยออกมาได้ระหว่างการใช้ PAHs สะสมได้ในสิ่งมีชีวิตและเป็นสารก่อมะเร็ง
            แบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ เรือ และเครื่องยนต์อื่นๆ เป็นชนิดตะกั่วกับกรดซัลฟูริก โดยเฉลี่ยแบตเตอรี่หนึ่งชิ้นมีสารประกอบตะกั่ว 17.5 ปอนด์ (7.94 กิโลกรัม) และกรดอีก 1.5 แกลลอน (5.68 ลิตร) มักมีการนำแบตเตอรี่ใช้แล้วมาเผาเพื่อนำตะกั่วกลับคืนมา การสูดควันตะกั่วทำให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันถึงตายได้
 กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์

            ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม แบริลเลียม และสารหน่วงการติดไฟประเภทโบรมิเนท ซึ่งถูกปลดปล่อยระหว่างการกำจัด การทิ้ง การนำกลับมาใช้ คอมพิวเตอร์เป็นตัวอย่างของการสร้างปัญหาอย่างกว้างขวาง เพราะประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย ทั้งสวิตช์ ลวดทองแดง แผ่นพิมพ์วงจร (Printed circuit board PCB) แป้นพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ที่กระจายการผลิตอยู่ในที่ต่างๆ จึงมีผู้ผลิตรายย่อยๆ อยู่ทั่วโลก ในขั้นตอนการผลิตและการประกอบชิ้นส่วน คนงานมีโอกาสได้รับสารอันตรานเหล่านี้ หากไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม โดยเฉพาะในประเทศที่ขาดความเข้มงวดในการดูแล  ระหว่างการใช้ กลุ่มผู้ใช้รวมถึงผู้ซ่อมแซมอุปกรณ์มีโอกาสได้รับสารหน่วงการติดไฟที่ใช้ในกรอบพลาสติกและแป้นพิมพ์ สภาพที่น่าเป็นห่วงคือการแยกชิ้นส่วนในการนำกลับมาใช้และการกำจัดทิ้ง ซึ่งมักเกิดในประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีการนำเข้าคอมพิวเตอร์ใช้แล้ว และทำโดยคนงานที่ไม่มีความรู้ในการป้องกัน เช่น การนำคืนตะกั่วที่ใช้เชื่อมวงจรในตัวแผ่นพิมพ์วงจรโดยการเผาให้ตะกั่วหลอมหล่นลงมาในถังน้ำรองรับ ตัวแผ่นพลาสติกที่เหลือจะถูกเผาหรือแช่ลงในอ่างน้ำกรดเพื่อแยกทองแดงออกมา สารพิษที่จะถูกปลดปล่อยจากแผ่นพลาสติก เมื่อถูกเผาก็คือไอกรดไฮโดรคลอริก คาร์บอนมอนอกไซด์ และฟิวแรน ส่วนพลาสติกที่ยังเหลือก็นำไปผสมกับวัสดุอื่น เพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลาสติกราคาถูก ซึ่งมักนำไปทำเป็นของเล่นราคาถูกต่อไป เศษเหลือที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ก็เหลือเป็นกากที่นำไปฝังกลบ การที่มีผู้เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต การใช้ และการกำจัด กระจายตั้งแต่รายใหญ่ จนถึงรายย่อยระดับชุมชน ทำให้การติดตามดูแลสวัสดิภาพของผู้เกี่ยวข้องเป็นไปได้ยาก
            ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจึงหลากหลายในผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม พิษของโลหะหนักเป็นพิษเรื้อรัง เช่น ตะกั่วมีผลต่อระบบประสาท แคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง การสูดดมมีผลต่อปอดและไต ส่วนปรอทนั้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และพัฒนาการของทารก หลายประเทศมีนโยบายและมาตรการควบคุมอันตรายในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สหภาพยุโรปมีระเบียบจำกัดการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่รู้จักกันในชื่อ RoHs (Restriction on Hazardous Substances)
            นี่คือตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ไม่กี่ชนิดที่แสดงให้เห็นว่าความรู้และข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์สำคัญอย่างไร เมื่อมีข้อมูลสารเคมีตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ภาคการผลิตก็ได้ประโยชน์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ลดความเสี่ยงจากปัญหาการเรียกคืน แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดการ คนงานก็ปลอดภัย ในแง่ของผู้บริโภค ข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์จะให้ทางเลือกและการดูแลตัวเองได้ ภาครัฐสามารถใช้ข้อมูล CiPs ในการกำกับดูแล จัดลำดับความสำคัญเชิงนโยบาย และยังใช้ในการจัดการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการส่งเสริมภาคการผลิตไปด้วย การค้าขายเมื่อมีข้อมูลซึ่งโปร่งใส ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการ
ที่มา; Norden: Toxic Substances in Articles: The Need for Information, Copenhagen 2008
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ Zalatujr

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 12:28:28 PM »
เป็นข้อมูลที่ให้ความรู้ได้ดีมากเลยครับ

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 233062
    • ดูรายละเอียด
Re: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2023, 04:00:05 AM »

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 233062
    • ดูรายละเอียด
Re: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2023, 06:52:34 AM »
http://audiobookkeeper.ruhttp://cottagenet.ruhttp://eyesvision.ruhttp://eyesvisions.comhttp://factoringfee.ruhttp://filmzones.ruhttp://gadwall.ruhttp://gaffertape.ruhttp://gageboard.ruhttp://gagrule.ruhttp://gallduct.ruhttp://galvanometric.ruhttp://gangforeman.ruhttp://gangwayplatform.ruhttp://garbagechute.ruhttp://gardeningleave.ruhttp://gascautery.ruhttp://gashbucket.ruhttp://gasreturn.ruhttp://gatedsweep.ruhttp://gaugemodel.ruhttp://gaussianfilter.ruhttp://gearpitchdiameter.ru
http://geartreating.ruhttp://generalizedanalysis.ruhttp://generalprovisions.ruhttp://geophysicalprobe.ruhttp://geriatricnurse.ruhttp://getintoaflap.ruhttp://getthebounce.ruhttp://habeascorpus.ruhttp://habituate.ruhttp://hackedbolt.ruhttp://hackworker.ruhttp://hadronicannihilation.ruhttp://haemagglutinin.ruhttp://hailsquall.ruhttp://hairysphere.ruhttp://halforderfringe.ruhttp://halfsiblings.ruhttp://hallofresidence.ruhttp://haltstate.ruhttp://handcoding.ruhttp://handportedhead.ruhttp://handradar.ruhttp://handsfreetelephone.ru
http://hangonpart.ruhttp://haphazardwinding.ruhttp://hardalloyteeth.ruhttp://hardasiron.ruhttp://hardenedconcrete.ruhttp://harmonicinteraction.ruhttp://hartlaubgoose.ruhttp://hatchholddown.ruhttp://haveafinetime.ruhttp://hazardousatmosphere.ruhttp://headregulator.ruhttp://heartofgold.ruhttp://heatageingresistance.ruhttp://heatinggas.ruhttp://heavydutymetalcutting.ruhttp://jacketedwall.ruhttp://japanesecedar.ruhttp://jibtypecrane.ruhttp://jobabandonment.ruhttp://jobstress.ruhttp://jogformation.ruhttp://jointcapsule.ruhttp://jointsealingmaterial.ru
http://journallubricator.ruhttp://juicecatcher.ruhttp://junctionofchannels.ruhttp://justiciablehomicide.ruhttp://juxtapositiontwin.ruhttp://kaposidisease.ruhttp://keepagoodoffing.ruhttp://keepsmthinhand.ruhttp://kentishglory.ruhttp://kerbweight.ruhttp://kerrrotation.ruhttp://keymanassurance.ruhttp://keyserum.ruhttp://kickplate.ruhttp://killthefattedcalf.ruhttp://kilowattsecond.ruhttp://kingweakfish.ruhttp://kinozones.ruhttp://kleinbottle.ruhttp://kneejoint.ruhttp://knifesethouse.ruhttp://knockonatom.ruhttp://knowledgestate.ru
http://kondoferromagnet.ruhttp://labeledgraph.ruhttp://laborracket.ruhttp://labourearnings.ruhttp://labourleasing.ruhttp://laburnumtree.ruhttp://lacingcourse.ruhttp://lacrimalpoint.ruhttp://lactogenicfactor.ruhttp://lacunarycoefficient.ruhttp://ladletreatediron.ruhttp://laggingload.ruhttp://laissezaller.ruhttp://lambdatransition.ruhttp://laminatedmaterial.ruhttp://lammasshoot.ruhttp://lamphouse.ruhttp://lancecorporal.ruhttp://lancingdie.ruhttp://landingdoor.ruhttp://landmarksensor.ruhttp://landreform.ruhttp://landuseratio.ru
http://languagelaboratory.ruhttp://largeheart.ruhttp://lasercalibration.ruhttp://laserlens.ruhttp://laserpulse.ruhttp://laterevent.ruhttp://latrinesergeant.ruhttp://layabout.ruhttp://leadcoating.ruhttp://leadingfirm.ruhttp://learningcurve.ruhttp://leaveword.ruhttp://machinesensible.ruhttp://magneticequator.ruhttp://magnetotelluricfield.ruhttp://mailinghouse.ruhttp://majorconcern.ruhttp://mammasdarling.ruhttp://managerialstaff.ruhttp://manipulatinghand.ruhttp://manualchoke.ruhttp://medinfobooks.ruhttp://mp3lists.ru
http://nameresolution.ruhttp://naphtheneseries.ruhttp://narrowmouthed.ruhttp://nationalcensus.ruhttp://naturalfunctor.ruhttp://navelseed.ruhttp://neatplaster.ruhttp://necroticcaries.ruhttp://negativefibration.ruhttp://neighbouringrights.ruhttp://objectmodule.ruhttp://observationballoon.ruhttp://obstructivepatent.ruhttp://oceanmining.ruhttp://octupolephonon.ruhttp://offlinesystem.ruhttp://offsetholder.ruhttp://olibanumresinoid.ruhttp://onesticket.ruhttp://packedspheres.ruhttp://pagingterminal.ruhttp://palatinebones.ruhttp://palmberry.ru
http://papercoating.ruhttp://paraconvexgroup.ruhttp://parasolmonoplane.ruhttp://parkingbrake.ruhttp://partfamily.ruhttp://partialmajorant.ruhttp://quadrupleworm.ruhttp://qualitybooster.ruhttp://quasimoney.ruhttp://quenchedspark.ruhttp://quodrecuperet.ruhttp://rabbetledge.ruhttp://radialchaser.ruhttp://radiationestimator.ruhttp://railwaybridge.ruhttp://randomcoloration.ruhttp://rapidgrowth.ruhttp://rattlesnakemaster.ruhttp://reachthroughregion.ruhttp://readingmagnifier.ruhttp://rearchain.ruhttp://recessioncone.ruhttp://recordedassignment.ru
http://rectifiersubstation.ruhttp://redemptionvalue.ruhttp://reducingflange.ruhttp://referenceantigen.ruhttp://regeneratedprotein.ruhttp://reinvestmentplan.ruhttp://safedrilling.ruhttp://sagprofile.ruhttp://salestypelease.ruhttp://samplinginterval.ruhttp://satellitehydrology.ruhttp://scarcecommodity.ruhttp://scrapermat.ruhttp://screwingunit.ruhttp://seawaterpump.ruhttp://secondaryblock.ruhttp://secularclergy.ruhttp://seismicefficiency.ruhttp://selectivediffuser.ruhttp://semiasphalticflux.ruhttp://semifinishmachining.ruhttp://spicetrade.ruhttp://spysale.ru
http://stungun.ruhttp://tacticaldiameter.ruhttp://tailstockcenter.ruhttp://tamecurve.ruhttp://tapecorrection.ruhttp://tappingchuck.ruhttp://taskreasoning.ruhttp://technicalgrade.ruhttp://telangiectaticlipoma.ruhttp://telescopicdamper.ruhttp://temperateclimate.ruhttp://temperedmeasure.ruhttp://tenementbuilding.rutuchkashttp://ultramaficrock.ruhttp://ultraviolettesting.ru

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 233062
    • ดูรายละเอียด
Re: สารเคมีในผลิตภัณฑ์ – รู้ไปทำไม ตอน 1
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 24, 2024, 01:57:16 AM »