ผู้เขียน หัวข้อ: โรคปวดหลัง  (อ่าน 1817 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
โรคปวดหลัง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 01:40:36 PM »
โรคปวดหลัง โรคปวดหลัง (Low Back Pain)

มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ท่านๆ ที่ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งในออฟฟิศเป็นเวลานานๆ ระวังโรคปวดหลังถามหานะคะ จริงๆแล้ว โรคปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ตาม โดยเฉพาะ ผู้ที่นั่งนานๆ นั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ หรือ โค้งงอผิดท่า ที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ควรหลีกเลี่ยง1
ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของหลัง กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นกระดูกแกนกลางของร่างกายที่ต่อเนื่องมาจากศีรษะ เป็นส่วนเชื่อมกับกระดูกไหปลาร้าและสะบัก เพื่อต่อเนื่องไปยังกระดูกแขนทั้งสองข้าง ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เป็นข้อต่อให้กับสะโพก และกระดูกขาทั้งสองข้าง กระดูกสันหลังมีทั้งหมด 33 ชิ้น แบ่งเป็น ส่วนคอ 7 ชิ้น (Cervical) ส่วนอก 12 ชิ้น (Thoracic) ซึ่งจะเป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง ส่วนเอว 5 ชิ้น (Lumbar) กระดูกกระเบนเหน็บ 5 ชิ้น (Sacrum) เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว กระดูกส่วนก้นกบ 4 ชิ้น (Coccyx) วันนี้มาทำความรู้จักโรคปวดหลัง เพื่อทำการป้องกันให้ถูกวิธี มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง เชื่อมต่อกันด้วย หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral Disc) และข้อต่อของตัวกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรงกระดูกสันหลัง (Spinal Canal) เป็นที่อยู่ของไขสันหลัง (Spinal Cord) ที่ต่อเนื่องมาจากสมองและมีแขนงประสาทส่งไปเลี้ยง แขน ลำตัวและขา
นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ คือชั้นกล้ามเนื้อ (Muscle) ที่มีอยู่หลายชั้น หลายมัด เรียงตัวสานกันไปมาตามหน้าที่ของแต่ละมัด และชั้นเนื้อเยื่อ (Fascia) ที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ สีขาวคลุมอยู่บนกล้ามเนื้อแต่ละมัด
สาเหตุการปวดหลัง การปวดหลังในกลุ่มคนวัยทำงานเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่สำคัญที่สุดมักจะมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ดังนี้
• การทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวซํ้าๆ ในอิริยาบถท่าทางเดิมๆ (Repetitive or Awkward Motions) เช่น คนงานที่ต้องทำงานโดยการยกของ คนที่ต้องบิดตัวไปมา หรือการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามในกระบวนการทำงานที่เกิดซํ้าๆ อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังและโรคจากการทำงานอื่นๆ ได้ทั้งสิ้น เพราะการเคลื่อนไหวซํ้าๆ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าได้ง่ายและเมื่อกล้ามเนื้ออยู่ในภาวะอ่อนล้า จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อได้ง่าย
• อิริยาบถท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม (Awkward Postures) โดยการมีอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท หรือทั้ง 3 อย่างได้ และอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสมนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ โดยสาเหตุของอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสมนั้นอาจมาจากโครงสร้างร่างกายของตัวคนงานเอง หรือจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมหรืออุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานออกแบบมาไม่ดี เช่น เก้าอี้มีลักษณะที่ไม่สามารถช่วยพยุงหลังได้ คืออาจไม่มีพนักพิงเลย หรือมี แต่พนักพิงนั้นไม่ได้โค้งรับไปตามโครงสร้างของหลัง เป็นต้น ทำให้ผู้ที่ต้องนั่งทำงานนานๆ มีอาการปวดหลังได้
• แรงกระทำต่างๆ (Force) แรงต่างๆ มีผลต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ เอ็น หรือ ข้อต่อ และแรงนี้ก็จะส่งผลต่อความมั่นคงของกระดูกสันหลัง กล่าวคือเมื่อกล้ามเนื้อ หรือเอ็นได้รับบาดเจ็บก็จะส่งผลให้กระดูกสันหลังไม่มั่นคงได้ แรงกระทำต่างๆ อาจเกิดจาก การก้มตัว บิดตัว ฯลฯ
การป้องกันอาการปวดหลัง
• ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกสันหลัง อันได้แก่ จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานรวมทั้งกระบวนการทำงานให้เหมาะสม ให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และอิริยาบถท่าทางที่เหมาะสมในการทำงาน
• ฝึกกล้ามเนื้อให้มีความทนทาน (Endurance) มากขึ้น เช่น ให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
• ลดและเลิกการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานมักจะมีอาการไอเรื้อรังร่วมด้วย และการไอนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อหลังเกร็งและปวดได้ การไอหรือจามอย่างรุนแรงยังทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาทับเส้นประสาทได้อีกด้วย
• ออกกำลังกายเป็นประจำ สมํ่าเสมอ โดยเลือกชนิดกีฬาที่ไม่รุนแรงกับหลังและเหมาะกับวัยของตัวเอง เช่น ว่ายนํ้า ปั่นจักรยาน เดิน ฯลฯ
การดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดหลัง
• ระยะเฉียบพลัน (Acute Phase) คือภายใน 72 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการ ให้ประคบด้วยความเย็นนาน 15-20 นาที อย่างต่อเนื่อง หรือถ้าหากเป็นมานานกว่า 72 ชั่วโมงแล้วแต่ยังมีอาการอักเสบอยู่ ก็สามารถใช้ความเย็นประคบได้ หลังจากประคบเสร็จให้พักการใช้งาน เมื่ออาการปวดทุเลาลงให้เริ่มยืดกล้ามเนื้อเบาๆ ทันที โดยเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ใช้อาการเจ็บปวดเป็นตัวหยุดการเคลื่อนไหว ค่อยๆ ยืดจนกล้ามเนื้อกลับมามีองศาเคลื่อนไหวเป็นปกติ แต่ระวังอย่าฝืนยืดกล้ามเนื้อทั้งๆ ที่อาการปวดยังรุนแรงอยู่ ลำดับต่อไปให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและป้องกันอาการบาดเจ็บซํ้า ห้ามพักนานเกิน 2-3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแรงได้ แต่ถ้าภายใน 2-3 วันอาการปวดไม่ทุเลาลง ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป
• ระยะเรื้อรัง (Chronic Phase) คือคนที่มีอาการนานกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ประคบด้วยความร้อน 20-30 นาที อย่างต่อเนื่อง บริเวณที่ปวด หลังจากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อจนรู้สึกตึง ในระยะนี้หากอาการปวดมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อสามารถนวดเบาๆ บริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดได้ และควรออกกำลังกายเป็นประจำสมํ่าเสมอเพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ และยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สามารถป้องกันการบาดเจ็บซํ้าได้อีก
แหล่งอ้างอิง : เออร์กอนอมิกส์:วิศกรรมมนุษยปัจจัย. กรุงเทพ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
(มหาชน), 2540
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261956
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคปวดหลัง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2023, 12:09:45 AM »

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261956
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคปวดหลัง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2023, 02:25:26 PM »
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтtuchkasсайтсайт

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 261956
    • ดูรายละเอียด