ผู้เขียน หัวข้อ: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย  (อ่าน 12730 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:39:54 AM »
การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย

  สวัสดีครับ พอดีอ่านในเวป จป  เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย เลยนำมาให้อ่านดู เผื่อมีประโยชน์นะครับ
         ข อความรู้จากพี่ จป. ทุกท่านด้วยครับ พอดีผมสงสัยเรื่อง การตั้งหน่วยงานความปลอดภัยเนื่องจากมีการจัดทำ Organizaton ใหม่ บริษัทมีพนักงาน 300 กว่าคน แต่พี่ จป.ปัจจุบันแกยืนยันกับผู้บริหารอย่างเสียงแข็งเลยครับว่า พนักงานเกิน 200 คนขึ้นไปต้องจัดตั้งแผนกความปลอดภัย ซึ่งตามที่เรียน จป.มสธอยู่ เขาให้มีการจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย เลยไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกตามที่พี่เขาเรียกร้องอยู่ หรือป่าวคับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
          ถูกของจป.เค้าแล้วละครับ บอกให้นายจ้างดูกฎกระทรวงฯปี49 หมวด 3 ข้อ 33 เลยครับ ในระดับของตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย กฎหมายก็เขียนไว้ชัดเจนแล้วครับ ว่าต้องอยู่ในระดับเทียบเท่าแผนกอื่นที่สามารถบริหารจัดการได้ ดังนั้นถ้าบริษัทฯใด แถว่ามีหน่วยงานความปลอดภัยมีเจ้าหน้าที่คนเดียวแล้วละก็ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าคำว่าหน่วยงานที่สามารถบริหารได้นั้น จะต้องมีบุคลากรที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยได้ด้วยตนเอง ที่สำคัญต้องมีแผนงานการดำเนินงานของตนเอง(ดูกฎกระทรวงปี49 ฉบับที่2)และต้องมีงบประมาณของตนเองที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารได้ตามแผนงาน ไม่ใช่ต้องขอผ่าน HR นะครับ   

         เนื่องจากบริษัทยังไม่เคยมี หน่วยงานความปลอดภัยค่ะ ขอคำปึกษาด้วยนคะ
1 คนที่เป็นหัวหน้าความปลอดภัย จะต้อง เป็นหรือเคยเป็น จป วิชาชีพ เท่านั้นหรือป่าว
2 แล้วต้องอบรมอะไรบ้าง
3 แล้วในหน่วยงานความปลอดภัยต้องมีกี่คน 

         ช่วยตอบให้สมบูรณ์ขึ้นครับ

1. คนที่เป็นหัวหน้าความปลอดภัย จะต้อง เป็นหรือเคยเป็น จป วิชาชีพ เท่านั้นหรือป่าวคะ

ตอบ ไม่จำเป็น ต้อง เป็นหรือเคยเป็น จป วิชาชีพ เท่านั้น  ครับ

จป.วิชาชีพ ตามกฏกระทรวงฯ 2549 สามารถเป็น หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย ตามที่กฏกระทรวงกำหนด ได้เลย  ( จป.วิชาชีพ อบรม ต้อง ไปอบรม เพิ่มเติม 42 ชั่วโมง ก่อนนะครับ  )

แต่มีเพิ่มเติม การอบรม ตามที่อธิบดีกำหนด มี ใน ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการอบรมหัวหนาหนวยงานความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

หมวด ๑ บททั่วไป   
 ขอ ๓ ลูกจางซึ่งมีสิทธิเขารับการอบรมหัวหนาหนวยงานความปลอดภัยตองเปนหรือ
เคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหนางาน ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับบริหาร

สรุปง่ายๆ คือ คนที่เป็นหรือเคยเป็น จป.หัวหน้างาน , จป.เทคนิค,จป.เทคนิคขั้นสูง, จป.บริหาร   ก็สามารถเป็นหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยได้  แต่ ต้องไปอบรม หลักสูตรหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยก่อน
 

2. แล้วต้องอบรมอะไรบ้าง
ตอบ

หมวด ๒ หลักสูตรหัวหนาหนวยงานความปลอดภัย

ขอ ๖ หลักสูตรหัวหนาหนวยงานความปลอดภัย ตองมีระยะเวลาการอบรม ดังตอไปนี้
(๑) ไมนอยกวาสี่สิบสองชั่วโมง สําหรับผูที่เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหนางาน หรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
(๒) ไมนอยกวาสามสิบชั่วโมง สําหรับผูที่ เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค หรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูง

ขอ ๗ หลักสูตรหัวหนาหนวยงานความปลอดภัยตามขอ ๖ หนวยงานอบรมหัวหนาหนวยงานความปลอดภัยตองจัดใหมีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ขอ ๘ การอบรมภาคทฤษฎีสําหรับผูที่เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหนางาน หรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารตองมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสามสิบชั่วโมง ประกอบดวย ๖ หมวดวิชา ดังตอไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ กลยุทธในการบริหารงานตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดลอมในการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมงประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) กฎหมายที่เกี่ยวของกับความปลอดภัยของหนวยงานตาง ๆ
(ข) การบริหารจัดการตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กลยุทธการบริหารองคกร มี ระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมงประกอบด วยหัวขอวิชา
(ก) บทบาทหนาที่ของผูบริหารและการพัฒนาความเปนผูนํา
(ข) เทคนิคการบริหารองคกร
(ค) การสื่อสารมนุษยสัมพันธ และการประสานงาน
(๓) หมวดวิชาที่ ๓ การจัดการความเสี่ยงและการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงมีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) การชี้บงอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) การจัดทําแผนจัดการความเสี่ยงดานความปลอดภัยและสุขภาพ
(๔) หมวดวิชาที่ ๔ การจัดการสิ่งแวดลอมในการทํางานสภาพการทํางานและการปองกันโรคจากการทํางาน มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) การปองกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดลอมในการทํางาน
(ข) การปองกันและควบคุมอันตรายจากสภาพการทํางาน
(ค) การปองกันและควบคุมโรคจากการทํางาน
(๕) หมวดวิชาที่ ๕ การจัดการดานวิ ศวกรรมความปลอดภัย มีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) การวางผังโรงงาน
(ข) การจัดการดานวิศวกรรมความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรและไฟฟา
(ค) การจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนยายวัสดุและการเก็บรักษาวัสดุ
(ง) แผนฉุกเฉินและการจัดการดานการปองกันและระงับอัคคีภัย
(๖) หมวดวิชาที่ ๖ ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการตรวจประเมินมีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและการประยุกตใช
(ข) การจัดทําคูมือและมาตรฐานดานความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) การประเมินผลและการวัดผลการปฏิบัติงานดานความปลอดภัย
(ง) การตรวจประเมิน
ขอ ๙ การอบรมภาคปฏิบัติสําหรับผูที่เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหนางาน หรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารตองมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบดวยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ผูเขารับการอบรมตองจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงพรอมนําเสนอรายงานการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการของตน และการระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาแผน
ขอ ๑๐ การอบรมภาคทฤษฎีสําหรับผูที่เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคหรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงตองมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบแปดชั่วโมง ประกอบดวย ๔ หมวดวิชา ดังตอไปนี้
(๑) หมวดวิชาที่ ๑ กลยุทธในการบริหารงานตามกฎหมายความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานในสถานประกอบกิจการ มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
ก) กฎหมายที่เกี่ยวของกับความปลอดภัยของหนวยงานตาง ๆ
(ข) การบริหารจัดการตามกฎหมายความปลอดภัยในการทํางาน
(๒) หมวดวิชาที่ ๒ กลยุทธ การบริหารองคกร มีระยะเวลาการอบรมสามชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) บทบาทหนาที่ของผูบริหารและการพัฒนาความเปนผูนํา
(ข) เทคนิคการบริหารองคกร
(ค) การสื่อสาร มนุษยสัมพันธ และการประสานงาน
(๓) หมวดวิ ชาที่ ๓ การจั ดการความเสี่ ยงและการจั ดทําแผนการจั ดการความเสี่ยงมีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมง ประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) การชี้บงอันตราย
(ข) การประเมินความเสี่ยง
(ค) การจัดทําแผนจัดการความเสี่ยงดานความปลอดภัยและสุขภาพ
(๔) หมวดวิชาที่ ๔ ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และการตรวจประเมินมีระยะเวลาการอบรมหกชั่วโมงประกอบดวยหัวขอวิชา
(ก) ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและการประยุกตใช
(ข) การจัดทําคูมือและมาตรฐานดานความปลอดภัยในการทํางาน
(ค) การประเมินผลและการวัดผลการปฏิบัติงานดานความปลอดภัย
(ง) การตรวจประเมิน
ขอ ๑๑ การอบรมภาคปฏิบัติสําหรับผูที่เปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค หรือเปนหรือเคยเปนเจาหนาที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงตองมีกําหนดระยะเวลาการอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบดวยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ผูเขารับการอบรมตองจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงพรอมนําเสนอรายงานการจัดทําแผนการจัดการความเสี่ยงในสถานประกอบกิจการของตน และการระดมความคิดเห็นในการปรับปรุงและพัฒนาแผน

3. แล้วในหน่วยงานความปลอดภัยต้องมีกี่คน
ตอบ  กฏหมายไม่ได้กำหนด จำนวนคนไว้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมขององค์กร ครับ
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:44:20 AM »
ดูกฎหมายแนบมาท้ายนี้
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:49:13 AM »
กฎหมายอ้างอิง
 
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. ๒๕๔๙
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:51:49 AM »
ตัวอย่าง
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2012, 10:53:47 AM »
ข้อ ๓๔ ให้หน่วยงานความปลอดภัยมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนการดำเนินงานสำหรับการขจัดความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแล
ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(๒) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ อุบัติภัย และควบคุมความเสี่ยง
ภายในสถานประกอบกิจการ
(๓) จัดทำคู่มือและมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานไว้ในสถานประกอบกิจการ
เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
(๔) กำหนดชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะ
ความเสี่ยงของงานเสนอต่อนายจ้าง เพื่อจัดให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสวมใส่ขณะปฏิบัติงาน
(๕) ส่งเสริม สนับสนุน ด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในสถานประกอบกิจการ
เพื่อให้ลูกจ้างปลอดภัยจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน
รวมทั้งด้านการควบคุมป้องกันอัคคีภัยและอุบัติภัยร้ายแรงด้วย
(๖) จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
แก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิม
ที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย
(๗) ประสานการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและ
ภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
(๘) ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ
(๙) รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ และ
ติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของ
สถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการทราบทุกสามเดือน
(๑๐) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย


หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยหน้าที่รับผิดชอบ
1. จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
2. ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟปีละ 1 ครั้งโดยฝึกซ้อม
3. ฝึกทีมดับเพลิงขั้นสูงของสถานประกอบการ เดือนละ 1  ครั้ง
4. รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุเพื่อ
    ทำการเลือกงาน เพื่อวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยงใน
    ทุกหน่วยงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงอันตราย ทั้งความปลอดภัย
    สุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
      4.1 เก็บรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุ
      4.2 ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง ( JSA)
      4.3 ทำปัญชีงานที่มีความเสี่ยงอันตราย
      4.4 ทำการประเมินความเสี่ยง
5. จัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน
6. จัดทำแผนการดำเนินงานควบคุมความเสี่ยง
7. ทำการตรวจติดตามประเมินผลตามแผนควบคุมความเสี่ยง
8. ทบทวนการดำเนินงานโคงการประเมินความเสี่ยง
9. ส่งเอกสารรายงาน จป.ว  ทุก  3  เดือน
10. แต่งตั้ง จป.หัวหน้างาน ,แต่งตั้ง จป.บริหาร , แต่งตั้ง จป.วิชาชีพ
11. ทำเอกสาร สอ.2
12. การตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ( จัดทำ สอ.4 )
13. จัดทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมรองรับ ISO 14001
14. การจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ
15. การนำเอกสารไปปฏิบัติ
16. ประเมินการจัดสถานีงานในแต่ละหน่วยงานให้เหมาะสมกับหลักการ
      ด้านความปลอดภัยในการทำงาน
17. ตรวจเช็คจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งหมด
18. ควบคุมระบบการทิ้งขยะ และการแยกประเภทขยะในโรงงาน
19. ควบคุมการนำขยะอันตรายและขยะติดเชื้อเพื่อของบริษัทรับทำลาย
20. จัดทำเอกสาร รง.8  ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
21. จัดระบบควบคุมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยทั้งโรงงาน
22. จัดทำข้อบังคับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยทั้งระบบ
23. ตรวจสอบบังคับใช้ร่วมกับ จป.หัวหน้างาน
24. จัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
25. จัดแสดงให้ความรู้เรื่องความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการใช้อย่างถูกต้อง
26. ตรวจเช็คอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหลักที่สำคัญของแต่ละหน่วยงาน
      ทุกๆ 2  เดือน
27. จัดทำระบบเอกสารเพื่อรองรับระบบมาตรฐานสากล
28. จัดทำระบบเอกสาร มอก.18001
29. จัดทำระบบเอกสาร ISO 14001
30. จัดทำระบบเอกสาร GMP , HACCP
31. บังคับใช้เอกสารในทุกหน่วยงาน
32. จัดการทบทวน ทำการประเมิน การใช้ระบบเอกสาร
33. จัดทำ Work permit ในการทำงานของผู้รับเหมา
34.จัดเก็บและตรวจเช็คเอกสารด้านความปลอดภัย
35. การฝึกอบรมปฐมนิเทศน์พนักงานเรื่องความปลอดภัยเปื้องต้น
36. การฝึกอบรมพนักงาน เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
37. การฝึกอบรมเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับหัวหน้างาน
38. การจัดฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
39. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งกลางวันและกลางคืน
40. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถโฟร์คลิฟท์
41. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่น
42. การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพ
43. ติดตามอับเดทกฏหมายว่าด้วยความปลอดภัยฯ
44. ควบคุมสั่งการใช้แผนฉุกเฉิน
45. การจัดรายการเสียงตามสาย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน
46. การจัดทำ สื่อทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บของบริษัท
47. การจัด สัปดาห์ความปลอดภัย
48. การจัดกิจกรรม 5ส  เพื่อความปลอดภัย
49. การจัด Safety talk ให้กับหน่วยงานที่ทำงานกับความเสี่ยงอันตราย
50. จัดการรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ
51. การจัดโครงการ เพื่อสุขภาพ 
52.การจัดบอล์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และเรื่อง
     อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จป.เทคนิคขั้นสูงหน้าที่รับผิดชอบ
1. จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
2. ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟปีละ 1 ครั้งโดยฝึกซ้อม
    อพยพหนีไฟทั้งกลางวันและกลางคืน
3. ตรวจเช็คถังดับเพลิงประจำ 3  เดือน ตรวจสภาพภายนอกรวมทั้งการวัด
    ปริมาณสารเคมีในถัง โดยการชั่ง และพลิกถัง
4. ตรวจเช็คสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ประจำ ทุก 1 เดือน
5. ทดสอบ ปั๊มน้ำดับเพลิงทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
6. ฝึกการใช้ถังดับเพลิงและสายฉีดน้ำดับเพลิง ( สาย Hose reel ) ให้กับ
    หน่วยงานที่มีความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัย เดือนละ 1  ครั้ง
7. ฝึกทีมดับเพลิงขั้นสูงของสถานประกอบการ เดือนละ 1  ครั้ง
8. ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอัคคีภัยในหน่วยงานต่างๆประจำเดือน
    และดำเนินการแก้ไข
9. รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุเพื่อ
    ทำการเลือกงาน เพื่อวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยงใน
    ทุกหน่วยงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงอันตราย ทั้งความปลอดภัย
    สุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
      9.1 เก็บรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุ
      9.2 ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง ( JSA)
      9.3 ทำปัญชีงานที่มีความเสี่ยงอันตราย
      9.4 ทำการประเมินความเสี่ยง
10. จัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงในการทำงาน
11. จัดทำแผนการดำเนินงานควบคุมความเสี่ยง
12. ทำการตรวจติดตามประเมินผลตามแผนควบคุมความเสี่ยง
13. ทบทวนการดำเนินงานโคงการประเมินความเสี่ยง
14. ส่งเอกสารรายงาน จป.ว  ทุก  3  เดือน
15. แต่งตั้ง จป.หัวหน้างาน ,แต่งตั้ง จป.บริหาร , แต่งตั้ง จป.วิชาชีพ
16. รายงานการตรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ปีละ  1  ครั้ง
17. รายงานการตรวจมลพิษในอากาศในสถานที่ทำงาน ปีละ 2 ครั้ง
18. ตรวจสภาพการทำงาน ปั้นจั่น  รอก  ลิฟท์ ปีละ 1  ครั้ง
19. รายงานการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ปีละ 1 ครั้ง
20. ทำเอกสาร สอ.1
21. ทำเอกสาร สอ.2
22. การตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ( จัดทำ สอ.4 )
23. จัดทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมรองรับ ISO 14001
24. การจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ
25. การนำเอกสารไปปฏิบัติ
26. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตในโรงงาน
27. การควบคุมการใช้สารเคมีในโรงงาน
28. การจัดทำ MSDS  เพื่อส่ง สอ.1
29. การจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานภายในโรงงาน
30. ประเมินการจัดสถานีงานในแต่ละหน่วยงานให้เหมาะสมกับหลักการ
      ด้านความปลอดภัยในการทำงาน
31. ตรวจเช็คจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งหมด
32. ควบคุมระบบการทิ้งขยะ และการแยกประเภทขยะในโรงงาน
33. ควบคุมการนำขยะอันตรายและขยะติดเชื้อเพื่อของบริษัทรับทำลาย
34. จัดระบบควบคุมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยทั้งโรงงาน
35. ตรวจสอบประเมินคุณภาพการใช้งานอุปกรณ์
36. จัดทำข้อบังคับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยทั้งระบบ
37. ตรวจสอบบังคับใช้ร่วมกับ จป.หัวหน้างาน
38. จัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
39. จัดแสดงให้ความรู้เรื่องความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และวิธีการใช้อย่างถูกต้อง
40. ตรวจเช็คอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหลักที่สำคัญของแต่ละหน่วยงาน
      ทุกๆ 2  เดือน
41. จัดทำระบบเอกสารเพื่อรองรับระบบมาตรฐานสากล
42. จัดทำระบบเอกสาร มอก.18001
43. จัดทำระบบเอกสาร ISO 14001
44. จัดทำระบบเอกสาร GMP , HACCP
45. บังคับใช้เอกสารในทุกหน่วยงาน
46. จัดการทบทวน ทำการประเมิน การใช้ระบบเอกสาร
47. จัดทำ Work permit ในการทำงานของผู้รับเหมา
48. การฝึกอบรมปฐมนิเทศน์พนักงานเรื่องความปลอดภัยเปื้องต้น
49. การฝึกอบรมพนักงาน เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
50. การฝึกอบรมเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับหัวหน้างาน
51. การจัดฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
52. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งกลางวันและกลางคืน
53. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถโฟร์คลิฟท์
54. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่น
55. การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพ
56. ติดตามอับเดทกฏหมายว่าด้วยความปลอดภัยฯ
57. การจัดรายการเสียงตามสาย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน
58. การจัดทำ สื่อทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บของบริษัท
59. การจัด สัปดาห์ความปลอดภัย
60. การจัดกิจกรรม 5ส  เพื่อความปลอดภัย
61. การจัด Safety talk ให้กับหน่วยงานที่ทำงานกับความเสี่ยงอันตราย
62. จัดการรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ
63. การจัดโครงการ เพื่อสุขภาพ 
64. การจัดบอล์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และเรื่อง
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน




จป.เทคนิคหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟปีละ 1 ครั้งโดยฝึกซ้อม
    อพยพหนีไฟทั้งกลางวันและกลางคืน
2. ตรวจเช็คความเสี่ยงที่อาจเกิดอัคคีภัยประจำวัน
3. ตรวจเช็คถังดับเพลิงประจำ 1  เดือน  ตรวจสภาพภายนอกทั่วไป
4. ตรวจเช็คถังดับเพลิงประจำ 3  เดือน ตรวจสภาพภายนอกรวมทั้งการวัด
     ปริมาณสารเคมีในถัง โดยการชั่ง และพลิกถัง
5. ตรวจสภาพตู้ ดับเพลิง FHC ประจำ 1  เดือน
6. ตรวจเช็คสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ประจำ ทุก 1 เดือน
7. ทดสอบ ปั๊มน้ำดับเพลิงทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
8. ฝึกการใช้ถังดับเพลิงและสายฉีดน้ำดับเพลิง ( สาย Hose reel ) ให้กับ
9. หน่วยงานที่มีความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัย เดือนละ 1  ครั้ง
10. ฝึกทีมดับเพลิงขั้นสูงของสถานประกอบการ เดือนละ 1  ครั้ง
11. รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุเพื่อ
    ทำการเลือกงาน เพื่อวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยงใน
    ทุกหน่วยงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงอันตราย ทั้งความปลอดภัย
    สุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
      11.1 เก็บรวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุ
      11.2 ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง ( JSA)
      11.3 ทำปัญชีงานที่มีความเสี่ยงอันตราย
      11.4 ทำการประเมินความเสี่ยง
12. ทำการตรวจติดตามประเมินผลตามแผนควบคุมความเสี่ยง
13. จัดทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมรองรับ ISO 14001
14. การนำเอกสารไปปฏิบัติ
15. การควบคุมการใช้สารเคมีในโรงงาน
16. การจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานภายในโรงงาน
17. ตรวจเช็คจำนวนของเสียจากกระบวนการผลิต ทั้งหมด
18. ควบคุมระบบการทิ้งขยะ และการแยกประเภทขยะในโรงงาน
19. ควบคุมการนำขยะอันตรายและขยะติดเชื้อเพื่อของบริษัทรับทำลาย
20. จัดทำเอกสาร รง.8  ส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม
21. จัดการเบิกจ่ายอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของแต่ละหน่วยงาน
22. ตรวจสอบประเมินคุณภาพการใช้งานอุปกรณ์
23. จัดทำระบบเอกสารเพื่อรองรับระบบมาตรฐานสากล
24. จัดทำระบบเอกสาร มอก.18001
25. จัดทำระบบเอกสาร ISO 14001
26. จัดทำระบบเอกสาร GMP , HACCP
27. บังคับใช้เอกสารในทุกหน่วยงาน
28. การจัดฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
29. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งกลางวันและกลางคืน
30. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้รถโฟร์คลิฟท์
31. การฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่น
32. การฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพ
33. การจัดรายการเสียงตามสาย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน
34. การจัดทำ สื่อทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บของบริษัท
35. การจัด สัปดาห์ความปลอดภัย
36. การจัดกิจกรรม 5ส  เพื่อความปลอดภัย
37. การจัด Safety talk ให้กับหน่วยงานที่ทำงานกับความเสี่ยงอันตราย
38. จัดการรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ
39. การจัดโครงการ เพื่อสุขภาพ 
40. การจัดบอล์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และเรื่อง
       อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

จป พื้นฐานหน้าที่รับผิดชอบ
1. ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟปีละ 1 ครั้งโดยฝึกซ้อม
    อพยพหนีไฟทั้งกลางวันและกลางคืน
2. ตรวจเช็คความเสี่ยงที่อาจเกิดอัคคีภัยประจำวัน
3. ตรวจเช็คถังดับเพลิงประจำ 1  เดือน  ตรวจสภาพภายนอกทั่วไป
4. ตรวจเช็คถังดับเพลิงประจำ 3  เดือน ตรวจสภาพภายนอกรวมทั้งการวัด
     ปริมาณสารเคมีในถัง โดยการชั่ง และพลิกถัง
5. ตรวจสภาพตู้ ดับเพลิง FHC ประจำ 1  เดือน
6. ตรวจเช็คสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน ประจำ ทุก 1 เดือน
7. ทดสอบ ปั๊มน้ำดับเพลิงทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
8. ฝึกการใช้ถังดับเพลิงและสายฉีดน้ำดับเพลิง ( สาย Hose reel ) ให้กับ
9. หน่วยงานที่มีความเสี่ยงการเกิดอัคคีภัย เดือนละ 1  ครั้ง
10. ฝึกทีมดับเพลิงขั้นสูงของสถานประกอบการ เดือนละ 1  ครั้ง
11. จัดทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมรองรับ ISO 14001
12. การนำเอกสารไปปฏิบัติ
13. การจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานภายในโรงงาน
14. รวบรวมข้อมูลและเก็บบันทึกเอกสาร
15. จัดการเบิกจ่ายอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของแต่ละหน่วยงาน
16. ตรวจสอบประเมินคุณภาพการใช้งานอุปกรณ์
17. จัดทำระบบเอกสารเพื่อรองรับระบบมาตรฐานสากล
18. จัดทำระบบเอกสาร มอก.18001
19. จัดทำระบบเอกสาร ISO 14001
20. จัดทำระบบเอกสาร GMP , HACCP
21. บังคับใช้เอกสารในทุกหน่วยงาน
22. การจัดฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
23. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งกลางวันและกลางคืน
24. การจัด สัปดาห์ความปลอดภัย
25. การจัดกิจกรรม 5ส  เพื่อความปลอดภัย
26. จัดการรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ
27. การจัดโครงการ เพื่อสุขภาพ 
28. การจัดบอล์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และเรื่อง
       อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เจ้าหน้าที่ธุรการความปลอดภัยหน้าที่รับผิดชอบ
1. ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟปีละ 1 ครั้งโดยฝึกซ้อม
อพยพหนีไฟทั้งกลางวันและกลางคืน
2. จัดเก็บเอกสารในการทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยทั้งหมด
3. รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุเพื่อ
    ทำการเลือกงาน เพื่อวิเคราะห์อันตรายและประเมินความเสี่ยงใน
    ทุกหน่วยงานในโรงงานที่มีความเสี่ยงอันตราย ทั้งความปลอดภัย
    สุขภาพอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
4. จัดทำเอกสารรายงาน จป.ว  ทุก  3  เดือน
5. แต่งตั้ง จป.หัวหน้างาน ,แต่งตั้ง จป.บริหาร , แต่งตั้ง จป.วิชาชีพ
6. รายงานการตรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ปีละ  1  ครั้ง
7. รายงานการตรวจมลพิษในอากาศในสถานที่ทำงาน ปีละ 2 ครั้ง
8. ตรวจสภาพการทำงาน ปั้นจั่น  รอก  ลิฟท์ ปีละ 1  ครั้ง
9. รายงานการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ปีละ 1 ครั้ง
10. ทำเอกสาร สอ.1
11. ทำเอกสาร สอ.2
12. การตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ( จัดทำ สอ.4 )
13. จัดทำระบบมาตรฐานสิ่งแวดล้อมรองรับ ISO 14001
14. การจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ
15. การนำเอกสารไปปฏิบัติ
16. การจัดทำ MSDS  เพื่อส่ง สอ.1
17. การจัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานภายในโรงงาน
18. รวบรวมข้อมูลและเก็บบันทึกเอกสารการควบคุมขยะ
19. จัดการเบิกจ่ายอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยของแต่ละหน่วยงาน
20. จัดทำระบบเอกสารเพื่อรองรับระบบมาตรฐานสากล
21. จัดทำระบบเอกสาร มอก.18001
22. จัดทำระบบเอกสาร ISO 14001
23. จัดทำระบบเอกสาร GMP , HACCP
24. บังคับใช้เอกสารในทุกหน่วยงาน
25. จัดการทบทวน ทำการประเมิน การใช้ระบบเอกสาร
26. จัดทำ Work permit ในการทำงานของผู้รับเหมา
27. จัดเก็บและตรวจเช็คเอกสารด้านความปลอดภัย
28. การจัดฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น
29. การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ทั้งกลางวันและกลางคืน
30. การจัดทำ สื่อทางอินเตอร์เน็ต ในเว็บของบริษัท
31. การจัด สัปดาห์ความปลอดภัย
32. การจัดกิจกรรม 5ส  เพื่อความปลอดภัย
33. จัดการรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการ
34. การจัดโครงการ เพื่อสุขภาพ 
35. การจัดบอล์ดประชาสัมพันธ์ เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน และเรื่อง
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
36.รวบรวมและจัดเก็บเอกสารการจัดกิจกรรม


ดูรายละเอียดได้ คลิกที่ด้านล่าง
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 263534
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2023, 03:14:48 AM »

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 263534
    • ดูรายละเอียด
Re: การจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2023, 05:13:43 AM »
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинйоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфо
инфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоинфоtuchkasинфоинфо

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 263534
    • ดูรายละเอียด