SAFETY ความปลอดภัย > ห้องความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

สวมหมวกนิรภัย ถูกวิธี ลดเจ็บ - ลดตายจากอุบัติเหตุ

(1/2) > >>

winai.d:
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี ช่วยลดการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ และการเสียชีวิตกรณีประสบอุบัติเหตุทางถนน โดยให้ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมาย มอก. กำกับ  ไม่นำหมวกที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกใบใหม่ทุกๆ 5 ปี ส่วนการสวมหมวก ให้ปรับความตึงของสายรัดคางให้แน่นหนาเพียงพอที่หมวกจะไม่หลุดจากศีรษะกรณี ประสบอุบัติเหตุ
                นายวิบูลย์  สงวนพงศ์  อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้หมวกนิรภัยจะไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ แต่การสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี เมื่อประสบอุบัติเหตุ นอกจากจะ[glow=red,2,300]ช่วยป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะได้ถึงร้อยละ 70 แล้ว  ยังป้องกันการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 40 [/glow] เพื่อความปลอดภัย ขอแนะวิธีเลือกใช้และการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี ดังนี้  การเลือกใช้หมวกนิรภัย ใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ  ที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับ ไม่ใช้หมวกนิรภัยที่มีขนาดใหญ่กว่าศีรษะ เพราะหากประสบอุบัติเหตุ จะหลุดออกจากศีรษะได้ง่าย  เลือกใช้หมวกที่มีสีสันสดใสหรือสีสว่าง จะช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไกล ไม่นำหมวกนิรภัยที่เคยประสบอุบัติเหตุหรือกระแทกอย่างรุนแรงมาใช้งาน  เปลี่ยนหมวกนิรภัยใบใหม่ทุกๆ 5 ปี หรือภายหลังหมวกกระแทกพื้นหรือประสบอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เนื่องจากวัสดุบางชิ้นอาจหมดอายุการใช้งาน การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธี  สวมหมวกนิรภัยตรงๆ บนศีรษะ ไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง โดยส่วนหน้าคลุมหน้าผากทั้งหมดจนถึงขอบคิ้ว  ส่วนที่เหลือคลุมพื้นที่บนศีรษะให้มากที่สุด ปรับความตึงของสายรัดคางให้กระชับใต้คาง (สามารถสอดนิ้วได้ประมาณ 2 นิ้ว) สายรัดข้างไม่บิดหรือหย่อน รวมถึงแน่นหนาเพียงพอ   ที่หมวกจะไม่หลุดออกจากศีรษะ หรือเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้ง่าย วิธียืดอายุการใช้งาน ระวังอย่าให้หมวกนิรภัยกระแทกพื้นหรือของแข็งอย่างรุนแรง เพราะโฟมจะยุบตัวและเกิดรอยร้าว ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการรองรับแรงกระแทก  เมื่อประสบอุบัติเหตุ ไม่เก็บหมวกนิรภัยไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง กลางแจ้ง หรือใกล้แหล่งความร้อนเป็นระยะเวลานาน  รวมถึงห้ามนำทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาเคลือบสีรถยนต์มาเช็ดหมวกนิรภัย เพราะอาจทำให้โฟมด้านในละลาย ส่งผลให้หมวกนิรภัยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  วิธีสวมหมวกนิรภัยให้เด็กเล็ก  ผู้ปกครองควรปลูกฝังค่านิยมในการสวมหมวกนิรภัยแก่เด็ก  สวมหมวกนิรภัยให้เด็กเห็นจนเคยชิน  ไม่ล้อเลียนเวลาเด็กสวมหมวก หรือบังคับให้เด็กใส่หมวก  เลือกหมวกที่มีสีสันสวยงามหรือลวดลวยการ์ตูน  จะดึงดูดความสนใจของเด็กให้สวมใส่หมวกนิรภัยได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้เด็กสวมใส่หมวกที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ  หากขนาดศีรษะเด็กเพิ่มขึ้น ควรเปลี่ยนหมวกใบใหม่ และทุกครั้งที่นำเด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยด้วยทุกครั้ง เพื่อลดการบาดเจ็บที่ศรีษะกรณีประสบอุบัติเหตุ[/color]


winai.d:
10 ความเชื่อผิดๆ ไม่สวมหมวกกันน็อค

หลังจากหลายหน่วยงานใหญ่เปิดตัวรณรงค์การเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” ไปพร้อมกันทุกประเทศทั่วโลก เมื่อ 11 พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา เป้าหมายแรกของการลดอุบัติเหตุจราจรทางถนนของไทยเราพุ่งเป้าไปที่ “กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์” จำนวนมหาศาล เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก มีจำนวน 17,586,506 คัน (นับถึงเมษายน 2554)
 

ถ้าคำนวณจากสถิติผู้เสียชีวิต 12,000 คนจากปีที่ผ่านมา ปรากฎว่า จำนวนนั้นจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่มีมากถึงร้อยละ 80 หรือ 9,600 คนโดยประมาณ เป็นเด็กและเยาวชนกว่าร้อยละ 40 ส่วนใหญ่มาจากเหตุผลไม่สวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค และจะยังมีต่อไปเรื่อยๆ

 
จากการลงมือขุดหาสาเหตุจากผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ว่า “ทำไม เพราะอะไร จึงไม่สวมหมวกกันน็อค”

ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกกันน็อค จำนวน 77,334 คน จาก 73 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนกรกฎาคม 2553 ปรากฏเหตุผลการไม่ สวมหมวกกันน็อค 10 ประการ ล้วน เป็นความเชื่อ ที่ไม่ถูกต้อง เมื่อเทียบกับ หลักความจริง ของความปลอดภัย ดังนี้

1. ความเชื่อ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปใกล้ๆ แค่นี้เอง เป็น ความเชื่ออันดับแรก คือมากถึง 64% ของผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่ไม่สวมหมวกกันน็อค
 
ความจริง จากการสำรวจระยะทางห่างจากบ้านถึงจุดที่เกิดเหตุ ในคนเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น พบว่า กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ 36.4% ของผู้ที่ได้ รับบาดเจ็บ เกิดเหตุ ในรัศมี 1 กม. จาก-บ้านหรือที่พัก 22.7% เกิดเหตุห่างจากที่พัก ระหว่าง 1- 2 กม. 14.5% เกิดเหตุห่างจากที่พัก 2-5 กม. และ 26.4% เกิดเหตุห่างจากที่พัก มากกว่า 5 กม. บ่อยครั้งมากที่คนไข้เสียชีวิต เพราะขี่จักรยานยนต์ ชนสุนัข , หรือทับก้อนหินเสียหลัก หรือขี่รถตกหลุม ขณะออกจากบ้านไปธุระ หน้าปากซอย ห่างจากบ้านไม่ถึง 100 เมตร  จากข้อมูลชุดนี้ แสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดกับรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่เกิดอยู่ ใกล้ๆบ้านนั่นเอง


2. ความเชื่อ ไม่ได้ขับขี่รถออกถนนใหญ่ หมวกไม่ต้องใส่ก็ได้ เป็นความเชื่ออันดับที่สอง คิดเป็น 37% ของผู้ที่ตอบแบบสอบถาม
 
ความจริง ข้อมูลจาก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ในปี 2553 วันที่ 12-15 เมษายน ชี้ชัดว่าอุบัติเหตุ มากถึง 2/3 เกิดบนถนน สายรอง เช่น ถนนในเขตหมู่บ้าน ในเมือง ในเขตเทศบาลและทางหลวงชนบท มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เหตุเกิดบนถนนสายหลัก หรือถนนใหญ่

3. ความเชื่อ เร่งรีบ ก็เลย เอาหมวกมาใส่ไม่ทัน เป็นความเห็น 29% ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์

ความจริง เร่งอย่างไร ถ้าจะคว้าหมวกมาใส่ ก็ต้องใส่ทัน มีใครที่รีบมากจนไม่ใส่กางเกงออกจาก บ้านบ้าง ทั้งที่ใส่กางเกงต้องใช้เวลานานกว่าใส่หมวกกันน็อคเสียอีก

4. ความเชื่อ ร้อนอึดอัด สวมใส่แล้วไม่สบาย สกปรก เป็นเหตุผลใน 21% ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์

ความจริง จากการสังเกตผู้ที่ขับขี่รถบนท้องถนน จะพบว่า ผู้ขับขี่จำนวนมาก สวมเสื้อแจกเก็ต คลุมทับอีกชั้น ซึ่งถ้าว่าไปแล้ว จะร้อนอึดอัดมากกว่า

5. ความเชื่อ 13% ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ตอบว่า  กลัวผมเสียทรง

ความจริง เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยไม่ได้ใส่หมวกกันน็อค ด้วยความเร็วของรถ แม้ความเร็วต่ำ ลมปะทะก็สามารถทำให้ผมปลิวกระจาย เสียทรงซะยิ่งกว่า ถ้าขับขี่เร็วกว่านั้น ทรงผมก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะเสียรูปขนาดไหน

6. ความเชื่อ 10% ตอบว่า  ไม่มีที่เก็บ พกพาลำบาก กลัวหาย

ความจริง คนจำนวนไม่น้อย ยังไม่รู้ว่า รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆ มีเดือยอยู่ใต้เบาะของจักรยานยนต์ เมื่อยกเบาะรถขึ้น สามารถเอาสายรัดคางของหมวกกันน็อคคล้องกับเดือยใต้เบาะ เมื่อปิดเบาะรถลง ก็สามารถ ล็อกให้หมวกถูกเก็บอยู่กับรถได้ ไม่ต้องถือติดตัว หรือไม่ต้องไปหาที่เก็บที่ไหนอีก

7. ความเชื่อ 8% ตอบว่า บริเวณที่จะขี่ไปไม่มีตำรวจ

ความจริง เจตนาของการใส่หมวกกันน็อค ก็เพื่อที่ว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ศีรษะของเรา จะได้รับการป้องกันไม่ให้ถูกกระแทก จนสมองกระทบกระเทือน ไม่ใช่เพื่อป้องกันตำรวจจับ การที่ตำรวจต้องออกมาเข้มงวดกวดขันให้ใส่หมวกกันน็อค ก็เพราะความปรารถนาดี ให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตของผู้ขับขี่ กับทั้งเป็นการป้องกันความเดือดร้อน ของผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

8. ความเชื่อ 7% ตอบว่า ไม่มีหมวกกันน็อค

ความจริง ปัจจุบันนี้ ราคาหมวกกันน็อคในโครงการรณรงค์สวมหมวกกันน็อค ซึ่งบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตหมวกกันน็อค สามารถสนับสนุนการซื้อหมวกกัน น็อคชนิดครึ่งศีรษะ ที่ได้มาตรฐานในราคาถูก เพียง 99 บาท เท่านั้น

9. ความเชื่อ คิดว่าโอกาสเกิดอุบัติเหตุมีน้อย คิดเป็น 6% ของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์
 ความจริง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐ มีจำนวนมากถึงปีละกว่า 300,000 คน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่น่าตกใจที่ว่าผู้ป่วยเหล่านี้ แทบทั้งหมด ไม่นึกว่าอุบัติเหตุจะเกิดกับตัว จึงขับขี่ด้วยความประมาท ไม่ใส่หมวกกันน็อค และ เมาแล้วขับ

10. ความเชื่อ บุคคลที่นั่งมาด้วยก็ไม่ได้สวม คิดเป็น 4% ของผู้ที่ตอบแบบสัมภาษณ์

ความจริง แทนที่จะกระทำความผิด ด้วยการสร้างความไม่ปลอดภัยกับตัวเอง ควรที่จะต้อง ชักชวนให้คนที่ไม่ได้สวมหมวก ต้องสวมหมวกด้วยกัน

จะ “ความเชื่อ” ใส่ “ความจริง” ให้กับผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักรยานยนต์คนไทยวันนี้ ไม่ใช่เรื่องยาก และไม่ใช่เรื่องแพง เพราะส่วนสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกจังหวัดร่วมกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และ ภาคีเครือข่าย จัดจำหน่ายหมวกกันน็อคมาตรฐาน มอก. ราคาเพียง 99 บาท

ลองติดตามกันดูหรือคอยจ้องว่า ในจังหวัดจะมีการรณรงค์เมื่อไหร่ (ปกติจะมีกันทุกเดือน) แต่สำหรับคนที่พอจะซื้อหาหมวกฯ ที่ได้มาตรฐานมาสวมใส่ก่อนขับขี่หรือโดยสารได้ราคาใบละ 300-500 บาท หามาใส่หมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

 ตรงนี้ละครับที่ผมขอให้ “เชื่อ” เพราะว่า ภาพ “ความจริง” จากอุบัติเหตุมันน่ากลัวกว่าที่คิดหลายเท่า!!
--------------------------------

นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย*
ผอ.ศูนย์ความร่วมมือด้านการป้องกันอุบัติเหตุขององค์การอนามัยโลก และ ประธาน สอจร.

winai.d:

หมวกนิรภัย100% สภ.บางปู สมุทรปราการ



winai.d:
หมวกนิรภัยอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มักถูกมองข้าม
 :-[ :-[ :-[

หมวกนิรภัย เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ใช้ทุกครั้ง เมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ เนื่องจากผลการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกนิรภัยอย่างถูกวิธีและเป็นหมวกที่มีมาตรฐาน เมื่อประสบอุบัติเหตุขณะขับขี่ หมวกนิรภัยสามารถป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะได้ถึง  ร้อยละ 70 ในขณะเดียวกัน สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากการได้รับอันตรายของสมองได้สูงถึงร้อยละ  40 ในปี 2552 การศึกษาขององค์การอนามัยโลกระบุว่าไทยเป็นหนึ่งใน 70 ของประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายหมวกนิรภัยที่สมบูรณ์ โดยมีข้อกำหนดให้ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารต้องสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์บนถนนทุกสาย รวมทั้งกำหนดให้มีการควบคุมมาตรฐานของหมวกนิรภัย ในขณะที่ กว่า 10 ปีแล้วที่กฎหมายบังคับในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2538) และบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2539 แต่มีรายงานอัตราการสวมหมวกนิรภัยโดยรวมเพียงร้อยละ 27  เฉวตสรร นามวาท และคณะ(2544) ได้ศึกษาต้นทุนในผู้บาดเจ็บที่เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ พบว่า ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของ ผู้ป่วยในที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีค่า เฉลี่ย 15,992 บาท ประมาณ 3 เท่าของผู้ที่สวม จำนวนวันนอน โรงพยาบาลของผู้บาดเจ็บที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ประมาณ 7 วัน คิดเป็นเกือบ 2 เท่าของผู้ที่สวม ค่า มัธยฐานของจำนวนวันที่หยุดงานหลังบาดเจ็บ 30 วัน ประมาณ 2 เท่าของผู้สวมหมวกนิรภัยข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากสำนักระบาดวิทยารายงานว่าอัตราผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่ม 15 ปีขึ้นไป ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยและบาดเจ็บรุนแรง(ผู้ป่วยใน)ร้อยละ 85.0 ผู้ซ้อนท้าย ร้อยละ 94.1 อัตราผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยและเสียชีวิต ร้อยละ 92.8 ผู้ซ้อนท้าย ร้อยละ 96.8 ในผู้บาดเจ็บกลุ่มนี้ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะถึงร้อยละ 80.6 การศึกษาของ ณัฐกานต์ ไวยเนตร(2552) พบว่า ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ขับขี่รถบนถนนในช่วงเวลาเร่งด่วนในเขตเมืองที่มีตำรวจจราจรคอยอำนวยความสะดวกมีอัตราการสวมถึงร้อยละ 90.1 ในขณะที่ผู้ซ้อนท้ายมีอัตราการสวมเพียง ร้อยละ 14.2 โดยในช่วงเวลาที่ไม่มีความเข้มงวดของการบังคับใช้อัตราการสวมจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 28.4 ในบางจังหวัดที่มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและมีการบังคับใช้กฎหมายที่สม่ำเสมอเช่นจังหวัดนครศรีธรรมราช อัตราการสวมหมวกนิรภัยในช่วงกลางวันจะสูงถึง  ร้อยละ 70 - 85 ในขณะที่ผู้ซ้อนท้ายมีอัตราการสวมต่ำประมาณ ร้อยละ 15 การสอบสวนการบาดเจ็บจากการขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ของณัฐกานต์ ไวยเนตร และ คณะในปี 2550 พบว่า ผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มีจำนวนการบาดเจ็บรุนแรงและจำนวนการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ขับขี่ถึง 2.5 เท่า และพบว่า ผู้ซ้อนท้ายส่วนใหญ่ร่างกายหลุดและลอยไปปะทะกับวัตถุอื่นหรือศีรษะกระแทกกับถนน

การสวมและไม่สวมหมวกนิรภัยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งแรกที่จะทำให้ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัยเป็นนิสัยคือ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของหมวกนิรภัย ในการปกป้องอันตรายจากศีรษะ การบังคับใช้กฎหมายเป็นกลไกที่ทั่วโลกยอมรับว่าทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ มีพฤติกรรมการสวมใส่ที่ดีที่สุด แต่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย จะเรียนรู้ว่าผู้บังคับใช้กฎหมายเข้มงวดช่วงใดย่อหย่อนช่วงใด พบว่าบางจังหวัดเช่น เชียงรายในช่วงเวลาทำการหรือมีการตั้งด่านเพื่อจับปรับ อัตราการสวมสูงถึงร้อยละ 80 ในขณะที่เวลาอื่นโดยเฉพาะเวลากลางคืน ผู้ขับขี่จะไม่สวมบางรายวางไว้ในตะกร้าหน้ารถ ผู้ซ้อนท้ายบางราย หอบหมวกไว้ข้างตัวเมื่อพบการตั้งด่านจึงหยิบมาสวมและมีทัศนคติว่าสวมหมวกเพื่อกันตำรวจจับเท่านั้น เมื่อได้พุดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับพบว่าแทบไม่เคยมีการจับกุมผู้ซ้อนท้ายที่ไม่สวมหมวกนิรภัย บางรายทราบว่ามีกฎหมายรองรับ บางรายไม่แน่ใจ ผู้ซ้อนท้ายให้ข้อมูลว่ามีหมวกใบเดียว ไม่สะดวกในการเก็บ ไม่ได้ขับขี่ออกถนนใหญ่ และไม่ได้ขับขี่ทางไกล มีจำนวนไม่น้อยที่บอกว่าร้อน เหม็น และกลัวผมเสียทรง โดยเฉพาะในผู้โดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างจำนวนมากให้เหตุผลว่าคนขับไม่มีหมวกให้ใช้ ผู้ขับขี่จักรยานยนต์บางรายบอกว่าเตรียมหมวกไว้ให้แต่ผู้โดยสารไม่นิยมเนื่องจาก เกรงว่าใช้กันมาหลายคนอาจสกปรก สิ่งที่ควรตระหนักคือ ผู้ปกครองในต่างจังหวัดที่ขับรถจักรยานยนต์ไปรับและส่งบุตรหลานที่โรงเรียนเกือบทั้งหมดไม่มีหมวกไว้ให้เด็กใส่ และไม่คิดว่าจำเป็นที่จะต้องหาซื้อเพราะตำรวจไม่จับ โดยเฉพาะบางโรงเรียนครูก็ไม่ใส่ ด้วยเหตุผลว่า ขับขี่ไม่เร็ว ไม่ได้ขับขี่ระยะทางไกล นอกจากจะอยู่บนความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กเห็นพฤติกรรมของการเพิกเฉยต่อความเสี่ยง  ในขณะที่ข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี(สะสม 2541-2550) สูงถึง 75,807 ราย(ร้อยละ 11.7) และเสียชีวิตจำนวน 2,281 รายคิดเป็นอัตราป่วยตายถึงร้อยละ 3.3

การบังคับใช้กฎหมายหมวกนิรภัยในประเทศไทยอาจจะไม่มีโอกาสสำเร็จที่จะทำให้จำนวนการสวมเพิ่มขึ้นทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ถ้ากระบวนการปลูกฝังทางสังคมยังละเลยการให้ความรู้ความเข้าใจที่เข้มข้น การเรียนการสอนจากโรงเรียน จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรที่สามารถปลูกฝังวินัยและสำนึกด้านความปลอดภัย โดยเริ่มอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่วัยเยาว์ และมีการกระตุ้นและให้ความรู้เพิ่มเติม อยู่ตลอดเสมือนการให้วัคซีน การเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม ของ พ่อ แม่ ครู และผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมเป็นสิ่งจำเป็น ถึงเวลาหรือยังที่ นโยบายสาธารณะจะผลักดันให้รัฐ มีมาตรการควบคุม ให้ผู้ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ต้องจัดหาหรือพัฒนาหมวกนิรภัยที่มีมาตรฐาน เป็นอุปกรณ์ควบที่ผู้บริโภค สามารถเลือกชนิด ขนาดและจำนวนที่เพียงพอทั้งผู้ขับขี่และซ้อนท้ายโดยไม่เพิ่มราคา ทุกภาคส่วนของสังคม เช่นสื่อ หลัก สื่อท้องถิ่น ต้องช่วยกัน และต้องระวังให้จงหนักในการสื่อสารกับประชาชน เพราะ การสวมหมวกนิรภัยไม่ได้ป้องกันอุบัติเหตุ แต่ป้องกันศีรษะจากการบาดเจ็บ และป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงในสมอง ทุกท่านที่ขับขี่และซ้อนท้ายจักรยานยนต์ ยังคงต้องมีความระมัดระวัง และปฏิบัติตามกฎจราจรเสมอ

ณัฐกานต์ ไวยเนตร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข



wyldin:
выяс402.4рассBettместРакумузыJuliКардSplaCapcБориMediCryoУсачAdreDaviКитаJasoMichLynnСодеBibe
GegaабхаLonaElseReneKeraMemoNoraEarlAhavKrokMattЯроцGillPanaPatrNiveAnatакадErneIntrЕфреRemb
DessKeviUmbrParkКупрManoMechKoffOmerLuxoDidiMandClubСуздослеIntiкулькандТавкжизнТакаBlinNavo
SurrDrivфакуУилепришAmazритоGeorМуссWindЗориUnreHighАрхиArtsSingVictоружArtsНазаRogeЧернисто
сереискуArtsluna4601ЛихаLocuруссBertSaraDelpwwwaI000SorePariAndrвмесFidoSympwwwnPureсторStan
Ю-лакрепфарфPCIeфарфАль-BoscCompBookSnooBookSQui6120Росс4600семьРН22PierCITRзавоуголdjvucont
IvreтексустрзастнаряигруударМишугражWindластBoscBorkТамбAdvaфакуYourблеспостSpeeЛитРЗверЗуев
JerrПросдемоJacqЛекоБрагобосRoge(184RainОвчисельXVIIМагоAlekVietЙонгRogeГениMPEGавиафильFail
ЖебрНикоBusiWritкартTakeРыжоМойеwwwcWaynАндркнижисчеПоздрассавтозверУзорFOREАДенIntePCIePCIe
PCIeстихBillДевяАромCromЛуниRobeJoanптицRenoФастпримtuchkasLongDays

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version