ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย  (อ่าน 1676 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 10:40:24 AM »
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้       
1.การเผาขยะและหญ้าแห้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้บ่อยที่สุด การเผาขยะหรือหญ้าแห้งในที่โล่งแจ้ง ควรทำด้วยความระมัดระวัง
                  # ควรเผาขยะในเตาเผา ในถังโลหะ หรือตะกร้าลวด
                  # ควรเผาขยะคราวละเล็กละน้อย จะปลอดภัยกว่าการนำขยะมาสุมเป็นกองโต
                  # ไม่ควรเผาขยะในขณะที่ลมแรง ขณะเผาควรเฝ้าดูและอยู่ใกล้ ๆ พร้อมด้วยถังใส่น้ำ เตรียมป้องกันไฟลุกลาม อย่าให้กองไฟมอดดับเอง ควรให้น้ำราดขี้เถ้าที่ยังมีควันคุกรุ่นอยู่ให้ดับสนิท

2.ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้มากเป็นอันดับสอง เนื่องจาก
                  # สายไฟที่ใช้มีขนาดเล็ก ไม่พอกับปริมาณกระแสที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน
                  # สายไฟฟ้าเก่าชำรุดจนเสื่อมสภาพ
                  # การใช้ฟิวส์ไม่ถูกขนาด
                  # การทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่าง เช่น เตารีดไฟฟ้า เตาต้มน้ำไฟฟ้า ทิ้งไว้เพื่อไปทำธุระอย่างอื่น อาจจะลืม ทำให้เกิดความร้อน และเกิดเพลิงไหม้ได้

3.การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ถูกวิธี
                  # บางคนมักง่าย ชอบติดไฟเตาถ่านหรือฟืน ด้วยการราดน้ำมันเชื้อเพลิง
                  # การเคี่ยวน้ำมันหมูร้อนจัดเกินไป การเคี่ยวเทียนไขน้ำมันก๊าซ เพื่อนำไปเช็ดถูพื้นบ้าน
                  # สตรีที่ใช้สเปรย์ฉีดผม เป็นวัตถุไวไฟ เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิน
                  # น้ำมันรถยนต์เป็นวัตถุไวไฟ
                  # สีพ่น น้ำมันทินเนอร์ หรือสีน้ำมันแห้งแร็ว เป็นวัตถุไวไฟทั้งสิ้น
                  # ผงฝุ่นจำนวนมากจากเครื่องดูดฝุ่น อาจจะระเบิดได้ ถ้าไปเคาะฝุ่นลงบนเปลวเพลิง
                  # การจุดตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนไขใกล้มุ้ง มักทำให้เกิดไฟไหม้ได้บ่อยครั้ง

4.การสูบบุหรี่และการใช้ไม้ขีดไฟ
                  # คนมักง่าย สะเพร่า เผลอเรอ ทิ้งก้นบุหรี่โดยไม่ดับให้สนิทลงบนพื้น บนกองขยะ บนหญ้าแห้ง
                  # การจุดบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถยนต์ในปั้มน้ำมัน
                  # การเขี่ยเถ้าบุหรี่ร้อน ๆ ลงบนวัตถุเชื้อเพลิง
                  # อย่าสูบบุหรี่บนที่นอนเป็นอันขาด
                  # ควรเก็บไม้ขีดไฟให้พ้นมือเด็ก แต่ถ้าเด็กโตถึงวัยที่อยากลองจุดไม้ขีดไฟเล่น ควรอนุญาตให้เล่นโดยอยู่ในความควบคุม อย่างใกล้ชิด

5.การดับไฟในเตาหุงต้มไม่สนิท
                  # ควรฝึกนิสัยดูแลดับไฟให้สนิททุกครั้ง ภายหลังประกอบอาหารเสร็จสิ้นแล้ว อย่าปล่อยให้ถ่านหรือฟืน มอดดับเองในเตาเป็นอันขาด

6.การจุดธูปเทียนบูชาพระ
                  # ควรปักเสียบไว้ในกระถางธูป อย่าปักเสียบไว้ในที่อื่นที่ไม่ปลอดภัย เทียนก็ควรปักไว้ในเชิงเทียนเช่นกัน และอย่าปล่อยให้ลุกไหม้นาน ๆ โดยไม่มีผู้ดูแล ผู้ใช้ไม่ควรทิ้งห้อง หรือเข้านอนก่อนธูปดับ
                  # การเผากระดาษเงินกระดาษทองเพื่อไหว้เจ้า ควรทำในภาชนะโลหะ เช่น กระป๋องหรือปีบ ที่สามารถควบคุม มิให้กระดาษปลิวไปทำความเสียหายในที่อื่นได้
                  # การจุดยากันยุง ควรกระทำในภาชนะที่ปกปิดได้มิดชิด และไม่ควรทิ้งไว้ หากเลิกใช้ควรดับให้สนิทเสียก่อน
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 10:41:25 AM »
ความปลอดภัยในอาคารตึกแถว
                เมื่อเกิดเพลิงไหม้ภายในอาคาร ควันไฟและความร้อน จะกระจายตัวออกไปตามช่องทางที่เปิดกว้าง ตามช่องหน้าต่าง รู ท่อ และช่องทางบันใดภายในอาคาร ไฟจะพาความร้อนและควันไฟ ลอยตัวขึ้นสูงเสมอ บันใดขึ้นลง ตามปกติเป็นช่องทางที่เปิดกว้าง จึงกลายเป็นปล่อง ที่ควันไฟและความร้อนลอยตัวขึ้น บุคคลที่อยู่ในอาคาร จึงไม่สามารถลงมาตามบันใดได้ ต้องหนีไปตามชั้นบนไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเปิดประตูห้องออกมา พบกับควันไฟและความร้อน ก็ออกมาไม่ได้ ต้องอาศัยออกทางหน้าต่าง ถ้าหน้าต่างปิดกั้นไปด้วยลูกกรงเหล็ก ไม่สามารถเปิดออกได้ คงจะต้องตกอยู่ในสภาวะแวดล้อม ที่เต็มไปด้วยควันไฟที่เป็นพิษ และความร้อนที่ลอยขึ้นมา

               จากเหตุผลของการลุกไหม้ภายในอาคาร มีสภาพลอยตัวขึ้นสูง ไปตามช่องทางที่เปิดกว้างนี้เอง จึงจำเป็นต้องหามาตรการป้องกัน การติดต่อลุกลามของไฟ และมาตรการที่ให้มีช่องทางหนีไฟ แต่มาตรการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้เพื่อความปลอดภัย ต้องประกอบด้วย การออกแบบที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย พร้อมทั้งขึ้นอยู่กับเจ้าของ ผู้ครอบครองอาคาร ผู้ใช้อาคาร ดังนี้

1.ให้ผู้เช่าอาคารตึกแถวที่อยู่อาศัย ต้องออกแบบให้สามารถป้องกันการติดต่อลุกลาม และเส้นทางหนีไฟ เช่น หน้าต่างที่เปิดออก ไปสู่ด้านนอกอาคาร หรือระเบียบ ต้องสามารถเปิดออกได้ รวมทั้งดาดฟ้าระเบียบ หรือกันสาดของตึกแถว ต้องสามารถเป็นเส้นทาง ในการหนีไฟได้โดยรอบ
2.ผู้ใช้ตึกแถวเป็นอาคารผู้อยู่อาศัย หัวหน้าครอบครัว ควรแนะนำบุคคลที่อยู่ในครอบครัว ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในแผนการหนีไฟ และการฝึกบุคคลในอาคาร ให้รู้หลักในการป้องกัน และการหนีไฟ ดังนี้
ปฏิบัติตามหลักการในการป้องกันอัคคีภัย 4 ประการ

•การจัดระเบียบเรียบร้อยดี เพื่อป้องกันการติดต่อลุกลาม โดยไม่ทำให้เกิดสถานไฟลุกลาม จากแหล่งที่มีความร้อน ที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้น เช่น ไม่ควรกองสุมวัสดุสิ่งของ ไว้ใกล้ความร้อน หรือล่อแหลมต่อการลุกไหม้ และติดต่อลุกลาม
•การตรวจตราซ่อมบำรุงดี บรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในอาคาร หรือในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์การหุงต้ม ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และปลอดภัย เป็นการระมัดระวังสาเหตุของอัคคีภัย ที่จะเกิดขึ้น โดยมาจากสาเหตุของไฟ ที่จะเกิดขึ้นในอาคารอยู่อาศัย จะเกิดขึ้นที่ห้องนั่งเล่น 37% ห้องครัว 22% ใต้ถุนหรือบันใด 14% ห้องนอน 13% และอื่น ๆ ดังนั้น เราต้องดูแลส่วนต่าง ๆ ให้ดี
•ความมีระเบียบวินัยดี โดยมีจิตสำนึกของความปลอดภัย ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่เสมอ ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามที่วางไว้ เพื่อความปลอดภัย
•ความร่วมมือที่ดี ถือปฏิบัติตามคำแนะนำ ที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิง หรือนายตรวจป้องกันอัคคีภัย เพื่อลดภยันตรายแก่ชีวิต และทรัพย์สิน
การฝึกหนีไฟ
หัวหน้าครอบครัว แนะนำผู้อยู่อาศัย ให้รู้เส้นทางหนีไฟ และฝึกสมมติเหตุการณ์หนีไฟ

•เขียนแผนผังเส้นทางหนีไฟ ในชั้นอาคารที่อยู่อาศัย สำหรับห้องนอนของคนในครอบครัว ต้องมีเส้นทางหนีไฟได้ 2 ทาง
◦ติดแผนผังไว้ให้เห็นได้ง่ายในห้องนอน
◦เขียนสถานที่เป็นหน้าต่าง ประตู ช่องทางเดิน ถ้าชั้นของอาคารมีระเบียบโดยรอบ เขียนเป็นเส้นทางออกหนีไฟ
◦ทางออกของห้องนอน และทางออกทางหน้าต่าง เป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่จะใช้หนีไฟ
◦ทดสอบหน้าต่าง ว่ามีส่วนที่จะเปิดออกได้หรือไม่ หน้าต่างของห้อง ต้องสามารถเปิดออกไปสู่ระเบียบ ที่ใช้เป็นเส้นทางหนีไฟได้ เมื่อต้องการใช้หนีไฟ
◦ในแผนผังหนีไฟ ควรเขียนเป็นลูกศรธรรมดา แต่ที่เป็นเส้นทางออก ที่ต้องไปสู่ทางเดินของควันไฟ และความร้อน ต้องเขียนเป็นลูกศรหนาทึบ ให้แตกต่างกับลูกศรที่แสดงเส้นทางออกหนีไฟ
•ข้อแนะนำคนในครอบครัว ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการรับรู้ และการฝึกหัด ในการใช้เส้นทางหนีไฟ ในแผนผังที่ได้แสดงไว้
◦เมื่อหลับอยู่บนที่นอน หรือสถานที่ใกล้ทางไปสู่บันใด สมมติว่า ควันไฟและความร้อนพุ่งผ่านขึ้นมาตามบันใด ก็ต้องหนีออกไปในเส้นทางที่ปลอดภัย (โดยปกติออกทางหน้าต่าง)
◦กำหนดสัญญาณให้ทุก ๆ คนได้ทราบว่า มีเหตุเพลิงไหม้ พยายามปิดช่องทาง ที่ควันไฟและความร้อนที่จะรอดผ่านเข้ามาได้
◦ถ้าไม่สามารถหนีออกได้ ควรทุกฝาผนัง ให้คนในห้องได้รู้หรือตะโกน ใช้นกหวีดหรือทุบสิ่งของ โลหะ แล้วแต่กรณี ให้ทุกคนรู้ว่าติดอยู่ ไม่สามารถออกมา
◦ก่อนจะเปิดประตู ต้องทดสอบความร้อน ที่เกิดจากการลุกไหม้จากภายนอก โดยใช้มือสัมผัสประตู ถ้าร้อนหรือมีควันลอดผ่านเข้ามา ก็ไม่ต้องเปิดประตู
◦เมื่อหนีออกมาได้แล้ว รีบไปพบคนที่อยู่ในครอบครัว แล้วตรวจสอบว่า ทุกคนออกมาหมดแล้วหรือยัง
◦แจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงทราบ ต้องรีบแจ้งว่า มีใครติดค้างอยู่หรือไม่ สถานที่เกิดเพลิงไหม้ ต้องแจ้งให้ชัดเจน และบอกชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งเหตุด้วย
 
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 10:47:23 AM »
ไฟไหม้! ไฟไหม้!... ช่วยด้วยยยยย...Help me! Help me!” …
เสียงหวีดร้องที่โหยหวน กลุ่มควันสีเทาพวยพุ่ง คละคลุ้ง ตลบอบอวล พร้อมกับเปลวเพลิงสีแดงที่โหมกระพือขึ้น...และแล้ว!!! โศกนาฏกรรมก็เกิดขึ้นอย่างที่ไม่มีใครคาดฝัน ส่งผลให้กลุ่มคนที่กำลังดื่ม กิน กันอย่างสนุกสนาน ต่างพากันแตกตื่น วิ่งหนีอย่างชุลมุน เพื่อหาหนี จากเพลิงนรกที่กำลังเผาผลาญในสถานบันเทิงชื่อดัง ย่านเอกมัย “ซานติกา”… เพลิงนรก ระทึกกลางกรุงอีกระลอก!!เมื่อเพลิงได้เผาผลาญอาคารเสือป่าพลาซ่า ทำให้คนนับร้อยหนีตายกันอลหม่าน...สร้างความสลดใจแก่ประชาชนชาวไทยอย่างยิ่งยวด

แล้วคุณล่ะ ถ้าเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ จะทำอย่างไร??? เมื่อ “ไฟไหม้” เปรียบเสมือน “ศัตรูที่ไม่เคยหลับ” เพราะมันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าคุณประมาท!!!

 ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับไฟกันดีกว่า!!!โดยตามมาตรฐานสากล แบ่งไฟออกเป็น 4 ประเภท คือ ไฟประเภท เอ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสติ๊ก หนังสัตว์ รวมทั้งตัวเราเอง วิธีดับไฟที่ดีที่สุด คือ การใช้น้ำ ไฟประเภท บี ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมัน แอลกอฮอล์ ทิเนอร์ ยางมะตอยจารบี และก๊าซติดไฟทุกชนิด เป็นต้น วิธีดับไฟที่ดีที่สุด คือ กำจัดออกซิเจน ทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ ใช้ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟมคลุม ไฟประเภท ซี ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วิธีดับไฟที่ดีที่สุด คือ ตัดกระแสไฟฟ้า ไฟประเภท ดี ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุระเบิด ปุ๋ยยูเรีย ผงแมกนีเซียม ฯลฯ วิธีดับไฟที่ดีที่สุด คือ การทำให้อับอากาศ หรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด) ซึ่งต้องศึกษาหาข้อมูลแต่ละชนิดของสารเคมีหรือโลหะนั้นๆ

กำจัดจุดอ่อน!!!...การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ ถือเป็นหนทางแรกที่ประชาชนทุกคนพึงปฏิบัติ ด้วยการจัดระเบียบภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น เก็บเอกสารสำคัญรวมไว้ในที่เดียวกัน เมื่อเกิดเหตุจะได้หยิบฉวยได้ทันที ขจัดสิ่งรกรุงรัง เก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน โดยไม่ลืมที่จะตรวจตราและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และความปลอดภัย ที่สำคัญ อย่าประมาท เลินเล่อ เช่น จุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้ ใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้วลืม เสียบปลั๊กไว้จนน้ำแห้ง เป็นต้น ประการสุดท้าย เตรียมเครื่องมือดับเพลิงเคมี ไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการใช้ เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย

หัดสังเกตุบ้างก็ดี!!!...อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ไฟไหม้ เกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น สิ่งที่พึงกระทำเป็นอันดับต้นๆ เมื่อต้องเดินทางไปในทุก ๆ ที่ ก็คือ การสังเกตทางหนีไฟ โดยสังเกตตำแหน่งบันไดหลักและบันไดหนีไฟ ประตู หน้าต่าง เส้นทางหนีไฟ ทางออกจากตัวอาคาร และจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าทางออกนั้นไม่ได้ปิดล็อกหรือมีสิ่งกีดขวาง สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยจริง นอกจากนี้ต้องสังเกตอุปกรณ์ช่วยชีวิตและอุปกรณ์เตือนภัย ได้แก่ เครื่องดักจับควัน เครื่องดักจับความร้อน อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ อุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน และเครื่องดับเพลิง ว่ามีอยู่หรือไม่ เป็นแบบใด อยู่ที่ไหน และใช้งานอย่างไร

ไฟไหม้แล้ว ทำไงดี!!!...เมื่อถึงเวลาที่ต้องผจญเหตุเพลิงไหม้จริงๆ คุณควรตั้งสติให้ดี เพื่อช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นก่อน จากนั้นปิดประตูหน้าต่างห้องที่เกิดเพลิงไหม้ให้สนิทที่สุดทันทีถ้าทำได้ เพื่อป้องกันการลุกลามของเพลิง แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครติดอยู่ข้างใน แล้วรีบวิ่งหนีออกมา และเปิดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ หากไม่มีอุปกรณ์แจ้งเหตุฉุกเฉิน ให้ช่วยกันตะโกนดังๆ หลายๆ ครั้งว่า "ไฟไหม้" จากนั้นรีบโทรศัพท์เรียกหน่วยดับเพลิงทันที ที่สำคัญ อย่าหนีโดยใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนขณะเกิดเพลิงไหม้!!!...เพราะทันทีที่เกิดไฟไหม้ อุปกรณ์เหล่านี้จะหยุดการทำงานเนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้า ให้ใช้บันไดหนีไฟเท่านั้น!!!

ระวัง!!!ก่อนเปิดประตู...หากติดอยู่ในอาคารที่มีเพลิงไหม้ ก่อนจะเปิดประตูให้เอาหลังมือแตะที่ลูกบิดประตู ถ้ามีความร้อนสูงแสดงว่ามีเพลิงไหม้อยู่บริเวณใกล้ๆ อย่าเปิดประตูโดยเด็ดขาด จากนั้นให้ใช้ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ชุบน้ำเปียก ๆ แล้วอุดไว้ตามร่อง ประตูและช่องต่าง ๆ ในห้อง เพื่อกันไม่ให้ควันไฟเล็ดลอดเข้ามาได้ แล้วเปิดหน้าต่างส่งสัญญาณด้วยการโบกผ้า และตะโกนขอความช่วยเหลือ ถ้ามีจำเป็นจริงที่ต้องเปิดประตูห้องขณะที่ไฟกำลังลุกท่วม ให้หาผ้าหนา ๆ คลุมลูกบิดประตู โดยผู้เปิดยืนอยู่หลังประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟที่ลามออกมาเผาร่างกาย จากนั้นจึงเปิดประตูได้

ควันไฟคร่าชีวิต!!!...เมื่อต้องเผชิญกับควันไฟที่ปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ ควรหาผ้าชุบน้ำปิดปาก ปิดจมูก หรือผ้าห่มชุบน้ำชุ่มคลุมร่างกายไว้ และใช้วิธีคลานต่ำๆ เพราะอากาศที่พอหายใจได้จะอยู่ด้านล่างเหนือพื้นห้องไม่เกิน 1 ฟุต ดังนั้น ทันทีที่เกิดเพลิงไหม้ ควันไฟจะปกคลุมอยู่รอบ ๆ ตัวคุณอย่างรวดเร็ว และกว่า 90% ของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เป็นผลมาจากสำลักควันไฟ เพราะมีทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนน็อกไซด์, เขม่า และอุณหภูมิที่สูงขึ้น หากหายใจเอาอากาศและเขม่าที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้เข้าไปในทางเดินหายใจ แก็ซและเขม่ารวมทั้งอากาศร้อน จะส่งผลให้ขาดออกซิเจน หายใจไม่ออกและหมดสติได้ นอกจากนั้น อาจก่อให้เกิดภาวะปอด-หลอดลม-กล่องเสียง–คอ-จมูก และไซนัสอักเสบอีกด้วย

 นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาหรือน้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ อาจมีอาการกำเริบได้นอกจากนี้ เขม่าและอากาศร้อนที่เข้าไปในทางเดินหายใจ ยังอาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจ แดงและบวม เยื่อบุที่บวมมากๆ นี้ อาจก่อให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น นั่นคือ อากาศที่หายใจเข้าไปไม่สามารถเดินทางไปถึงถุงลมในปอดได้ และอากาศจากปอดไม่สามารถเดินทางออกมายังจมูกได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการแน่นอก อึดอัด หายใจไม่ออก และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด

แต่!!!ถ้าหลีกไม่พ้นเพลิงนรก ทำให้ไฟลามที่ตัว ให้ทรุดกายลงกลิ้งกับพื้นเพื่อดับไฟ เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามไปทั่วร่างกาย หรือ ในกรณีที่เห็นผู้อื่นมีไฟลามที่ตัว ให้นำผ้าหนา ๆ ตบไปที่บริเวณที่ไฟลุกนั้น จากนั้น หาผ้าชุบน้ำมาปิดจมูกและคลุมศีรษะของผู้อื่น แล้วพาออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยทันที

 เมื่อพ้นจากพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว ขณะรอเจ้าหน้าที่พยาบาลมาช่วยเหลือ ลองสำรวจดูว่า ตนเองได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้เพียงใด หากผิวหนังถูกทำร้ายด้วยความร้อนเพียงเล็กน้อย ให้ลงมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำประคบบริเวณบาดแผล เพื่อระบายความร้อน หรือแช่ลงในน้ำ หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผล นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ จากนั้นทาด้วยยาทาแผลไหม้ ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่ผองออก ปิดด้วยผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่หากแผลไหม้บริเวณกว้าง หรือที่อวัยวะสำคัญ ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก และรีบนำส่งโรงพยาบาล

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พล.อ.ต.ชูพันธ์ ชาญสมร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช แนะนำว่า ควรช่วยเหลือผู้ถูกไฟไหม้เบื้องต้นด้วยการใช้น้ำราด หรือ ผ้าชุบน้ำคลุมตัวผู้ป่วย เพื่อระบายความร้อน เพราะร่างกายจะสูญเสียน้ำทำให้ขาดสมดุล รวมทั้งต้องรักษาความสะอาดบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ ญาติหรือผู้ใกล้ชิดผู้บาดเจ็บ มีส่วนสำคัญในการให้กำลังใจผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิต หรือต่อสู้กับความเจ็บปวด เพราะบาดแผลจากไฟไหม้ขั้นรุนแรงจะต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดตกแต่งบาดแผล

แผลที่กายรักษาได้ แผลที่ใจ ใครจะรักษา!!!...แม้ว่าคุณจะรักษาบาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ได้หมด ทำศัลยกรรมจนกลับมาสวย หล่อ ได้ดังเดิม แต่ใครจะรับประกันได้ว่า ความหวาดกลัวภายในจิตใจของคุณจะถูกรักษาให้หมดไปได้ ความเศร้าสลดที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ใครจะเป็นผู้มาเยียวยา...ทำไมต้องรอให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นก่อน ทั้ง ๆ ที่สิ่งแรกที่คุณควรจะทำ คือ การเตรียมพร้อมรับมือกับเพลิงนรกอยู่เสมอ และใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่ใช่วัวหายแล้วจึงค่อยล้อมคอก เพราะหากรอให้ถึงวันนั้น คุณอาจไม่เหลืออะไรให้แก้ไขอีกแล้ว ดังคำกล่าวที่ว่า “โจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว!!!”...

เรื่องโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์ Team content www.thaihealth.or.th
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ winai.d

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5672
  • มิตรภาพคือการเริ่มต้น มาร่วมแชร์ความรู้กัน
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 10:52:00 AM »
 >:(  >:( >:( 
 
อัคคีภัย ป้องกันได้ แค่ใส่ใจ
อัคคีภัย หรือไฟไหม้เกิดได้ทุกที่ ไม่ว่าบ้านพักอาศัย โรงงานและสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความสูญเสียด้านทรัพย์สิน และบางครั้งอาจมีการสูญเสียชีวิตร่วมด้วย ดังนั้น การป้องกันไฟไหม้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่

1. ห้ามสอนเด็กเล็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค เก็บสิ่งของที่ติดไฟได้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนเด็กโตสอนถึงอันตรายของไฟและให้รู้วิธีการจุดไม้ขีดไฟ ไฟแช็คที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำไปจุดเองแล้วตกใจหรือพลาดพลั้ง ทำให้ลวกมือหรือหน้า และอาจทำให้ไม้ขีดไฟตกพื้นและลามไปทั่วจนเกิดไฟไหม้

2. อย่าให้เด็กเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย เช่น น้ำมันเครื่องน้ำมันเบรค น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง และดอกไม้ไฟ ประทัด เม็ดมะยม

3. หมั่นตรวจสอบสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน เพราะสายไฟเก่า ถลอก หรือการใช้ปลั๊กไฟ 1 ตัวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว การใช้ไฟเกินขนาดเป็นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร

4. ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ต้องตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ จุดธูปจุดเทียน เปิดแก๊ส เปิดเตาไฟฟ้า เสียบปลั๊ก (โดยเฉพาะปลั๊กเตารีด) ทิ้งค้างไว้

5. ดับก้นบุหรี่ให้สนิท ดับเตาไฟอาหารเมื่อเลิกใช้

6. เสื้อผ้าเก่า หนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า ๆ ใบไม้แห้งที่ร่วงเกลื่อนสนามล้วนแต่เป็น “เชื้อเพลิง” ที่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้แล้วควรกำจัดออกจากบ้านเรือน

7. อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง เสื้อนอนของเด็กเลือกแบบไม่ติดไฟง่าย

8. ติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐาน ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

9. “เหล็กดัด” ตามประตูหน้าต่างไม่ควรใช้แบบติดถาวร ควรเปิดปิดได้ด้วยกุญแจ ลูกกุญแจนั้นต้องเก็บไว้ ที่ทุกคนหยิบได้ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน

10. จดเบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิง หรือ 199 เพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้

การช่วยเหลือเมื่อเกิดไฟไหม้

เมื่อเกิดไฟไหม้ ให้ควบคุมสติ ผู้ใหญ่ต้องช่วยเด็กที่อยู่ในที่นั้นออกมา ด้วยวิธีการดังนี้

1. ใช้ผ้าห่มหนา ๆ ห่อหุ้มเด็ก แล้วรีบหาทางออกจากสถานที่เกิดเหตุนั้นทันที

2. ถ้าที่เกิดเหตุมีควัน ห้ามวิ่งออกไป เพราะว่า 80%ของผู้เสียชีวิตในกองเพลิง เกิดจากการสำลักควันและขาดอากาศหายใจ ที่เป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไอร้อน ดังนั้น วิธีหนีควันไฟ คือ คว่ำหน้าหมอบลงกับพื้นแล้วค่อย ๆ คืบคลานไปสู่ทางออก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปาก ปิดจมูกเพื่อป้องกันการสำลักควัน

3. หากไฟไหม้ในห้องที่ไม่มีคนอยู่ และไม่มีใครอยู่ในนั้นแน่นอน ให้รีบปิดประตูห้องนั้นให้มิดชิด ไฟที่กำลังไหม้จะลดกำลังลงและอาจดับไปได้เอง อย่าเปิดห้องเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ไฟลุกลามมากขึ้น รอให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาจัดการดูแลต่อไป

4. ถ้ามีจำเป็นจริงที่ต้องเปิดประตูห้องที่ไฟกำลังลุกท่วมนั้น หาผ้าหนา ๆ ชุบน้ำลูกบิดประตู และเปิดประตู เข้ามาหาตัวผู้เปิด โดยผู้เปิดยืนอยู่หลังประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟที่ลามออกมาเผาตัวผู้เปิด

5. ถ้าเข้าไปติดอยู่ในห้องที่ไฟกำลังลุกลามใกล้มาถึง ให้ใช้ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ชุบน้ำเปียก ๆ แล้วอุดไว้ตามร่อง ประตูและช่องต่าง ๆ ในห้อง เพื่อกันไม่ให้ควันไฟเล็ดลอดเข้ามาได้ แล้วตะโกนเรียกคนช่วย โทรศัพท์แจ้ง 199 และโทรศัพท์เรียกรถดับเพลิง

6. ควรมีซ้อมป้องกันอัคคีภัย ที่เป็นวิธีการฝึกการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ การวางแผนการหนีเพลิง และอื่น ๆ

การปฐมพยาบาลเมื่อพบผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้

1. ใช้น้ำสะอาด ราด รด หรือแช่ผู้บาดเจ็บจากไฟลวก เพื่อลดความเจ็บปวดของบาดแผล หยุดการทำลายจากความร้อน

2. หากผู้บาดเจ็บสวมแหวน นาฬิกา กำไล ให้รีบถอดออก เพราะไม่นานบริเวณที่ถูกความร้อนจะเกิดอาการบวม

3. ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนพันบาดแผลไว้ และรีบนำส่งโรงพยาบาล

ที่มา : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/
" ความรู้มีไว้เผยแพร่ ให้กับผู้อื่น  เพื่อให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับทุกคน
     ความรู้นั้นสำคัญ ที่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

    รับอบรม เผยแพร่ความรู้.,ด้านการสร้างจิตสำนึก ...ความตระหนัก...ด้านความปลอดภัย
       JSA ,KYT ,BBS และ  5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต และเทคนิคทำมาตรฐาน 5 ส
                  " อุบัติเหตุ  เป็น  ศูนย์ "
ID:win1791  มือถือ 085 5101 555

ออฟไลน์ jaran

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 57
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 03:38:54 PM »
ขอบคุณมากครับ

ออฟไลน์ Targhari

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2019, 02:36:59 PM »
ข้อมูลดีมาก
fifa555 And many new ones Satisfied with watching every past football highlights across the world. There is a team to look after closely Members who have never bet on can learn how to bet. Learn the rules

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 264345
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 08, 2023, 04:56:35 AM »

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 264345
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2023, 11:27:13 AM »
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайт
сайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтсайтtuchkasсайтсайт

ออนไลน์ wyldin

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 264345
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัคคีภัย
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 15, 2024, 08:47:46 AM »